ประวัติโรงเรียนพรชัยวิชชาลัย
โรงเรียนพรชัยวิชชาลัย
เป็นโรงเรียนประเภทสามัญศึกษา รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ
อยู่ในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3
โรงเรียนได้รับอนุญาตให้เปิดสอนในระดับประถมศึกษา เมื่อวันที่ 15
กุมภาพันธ์ 2556 รับเด็กนักเรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ถึงประถมศึกษาปีที่ 6 ประเภทไปกลับ
เปิดปีแรกมีนักเรียนย้ายเข้าเรียนจากระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6
ทั้งหมด 355 คน และในปีการศึกษา 2558
เปิดทำการสอนระดับชั้นอนุบาล
ปีที่ 1-3 และ ในปีการศึกษา 2559
จะเปิดทำการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 โดยมี นายพรชัย
มูลมี เป็นผู้รับใบอนุญาต/ผู้จัดการ/ผู้อำนวยการ
ปรัชญาการศึกษาของโรงเรียน : การศึกษาเป็นการพัฒนาชีวิต ชีวิตจะมีการพัฒนา การศึกษาเป็นปัจจัย
สีประจำโรงเรียน : สีฟ้า –
เทา
คติพจน์ของโรงเรียน : เรียนดี มีวินัย
ใฝ่คุณธรรม เป็นผู้นำอาเซียน
โรงเรียนพรชัยวิชชาลัยอักษรย่อว่า
: พช
ชื่อเป็นภาษาอังกฤษ : PORNCHAIRITCHALAI อักษรย่อว่า PC
สถานที่ตั้ง
เลขที่ 118
หมู่ 11 บ้านภูเงิน
ตำบลนิคมห้วยผึ้ง อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ บนเนื้อที่
6 ไร่ รหัสไปรษณีย์ 46240
โทรศัพท์ 043840832 มือถือ 081-4991469
โทรสาร 043840831
เหตุผลที่ศึกษาโรงเรียนนี้
เนื่องจากโรงเรียนพรชัยวิชชาลัยเป็นโรงเรียนที่พึ่งทำการเปิดใหม่และเป็นโรงเรียนที่เปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลจนถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่
6 และเป็นโรงเรียนเอกชน
ที่รับนักเรียนเข้ามาศึกษาด้วยวิธีการรับสมัคร ไม่ได้ทำการสอบคัดเลือกเข้ามาเรียนเหมือนโรงเรียนอื่นๆ
จึงมีนักเรียนที่มาจากหลายครอบครัว มีทั้งเด็กเก่ง เด็กปานกลาง เด็กอ่อน มาอยู่รวมกัน
สิ่งที่น่าสนใจของโรงเรียนก็คือ
โรงเรียนจะเน้นด้านวิชาการเป็นสำคัญและส่งนักเรียนไปแข่งขันทางวิชาการจนได้รับรางวัลมากมาย
แต่ก็จะมีเด็กบางส่วนที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ทางโรงเรียนก็มาพิจารณาว่าสาเหตุเกิดจากอะไรกันแน่
ระหว่างตัวเด็กนักเรียนที่ขาดความสนใจเรียนลงไป
อันเนื่องมาจากสื่อและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
ครูผู้สอนในระดับประถมศึกษาที่ไม่ได้เรียนจบมาทางด้านการสอนภาษาไทย ทำให้สอนไม่เป็น ขาดหลักการ ขาดกลวิธีการสอนอ่าน
ไม่สนใจสอน ปล่อยปละละเลย โรงเรียนไม่มีระบบรองรับที่จะช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหาเฉพาะ
สื่อการเรียนการสอนภาษาไทย ที่มีลักษณะยัดเยียดความรู้ปลีกย่อยที่ไม่จำเป็น
ไม่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก หรือจะอยู่ที่ผู้ปกครอง
ที่ไม่ได้ใช้เวลาที่บ้านพัฒนาด้านการอ่านหรือเขียน ไม่จัดหาหนังสือ
หรือส่งเสริมการอ่านของบุตรหลาน จากนั้นทางโรงเรียนจึงทำโครงการขึ้นมาเพื่อพัฒนาให้เด็กส่วนนี้อ่านออกเขียนได้
และเพื่อทดสอบความรู้ความสามารถของผู้เรียนทางโรงเรียนจึงให้เด็กไปสอบแข่งขันทางวิชาการยังสถานที่ต่างๆ
เพื่อให้เด็กได้ทดสอบความรู้และทำให้เด็กเกิดความกระตือรือร้นในการเรียนมากยิ่งขึ้น
4. ผลสำเร็จปัญหาในการจัดการเรียนการสอน
ปัญหานักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้
ซึ่งเป็นปัญหาที่ทางโรงเรียนจะต้องให้ความสนใจและหาวิธีแก้ไขโดยเร่งด่วน
ดังนี้
1. มีการทดสอบความรู้ของนักเรียนที่มาสมัครเรียนเพื่อจัดแยกห้องเรียนตามศักยภาพ
เป็นการจัดนักเรียนทั้งระดับชั้น
ให้เข้าห้องเรียนใหม่ตามศักยภาพหรือความสามารถทางภาษาของตนเอง โดยที่ครูผู้สอนจะต้องเตรียมการสอนในกลุ่มการเรียนรู้ที่มีความสอดคล้องกับศักยภาพของเด็กด้วย
ซึ่งในห้องที่นักเรียนอ่านไม่ออก
หรือเขียนไม่ได้ หรือห้องที่มีความสามารถต่ำสุดนั้น โรงเรียนจะจัดครูเข้าช่วยพัฒนานักเรียนได้มากกว่า
1 คน
หรือใช้ครูที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องของการสอนให้อ่านออกเขียนได้เข้ามา
โดยใช้วิธีสอนและสื่อการสอนที่เข้มข้นมากกว่าชั้นเรียนอื่น ๆ
เพื่อช่วยเหลือและพัฒนานักเรียนกลุ่มนี้เป็นการเฉพาะ
ผลที่ได้ คือ
ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียน
เพราะการเรียนส่วนใหญ่ผู้เรียนจะแข่งกันเรียนจึงทำให้ผู้เรียนขยันที่จะใฝ่รู้
ใฝ่เรียน มากยิ่งขึ้น เนื่องจากกลัวเรียนไม่ทันเพื่อน
2. สื่อและวัสดุการเรียนรู้
หนังสือเรียนที่กระทรวงศึกษาธิการใช้
แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อการพัฒนา การอ่านออกเขียนได้ ทางโรงเรียนจึงได้จัดหาสื่อการเรียนการสอน
จำพวกหนังสือส่งเสริมการอ่าน ไม่ว่าจะเป็นนิทาน เรื่องสั้น
หนังสือสำหรับเด็กที่มีรูปภาพประกอบสวยงามน่าอ่าน เพื่อมาจูงใจให้นักเรียนสนใจ
การอ่านเพิ่มเติมด้วย และจัดให้มีมุมหนังสือภายในห้อง หรือทุก ๆ ที่ในโรงเรียน
เช่น จัดสถานที่บริเวณที่นักเรียนรอผู้ปกครองมารับให้มีมุมหนังสือสำหรับอ่านรอ
นอกจากนี้ ยังจัดทำแบบฝึก เพื่อฝึกหัดให้นักเรียนเขียนและอ่านอย่างเป็นระบบ
ไล่ลำดับตามความยากง่าย ซึ่งโรงเรียนก็ได้จัดทำขึ้นเองตามบริบท ของโรงเรียน
เพราะปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ในแต่ละห้องนั้นแตกต่างกัน
ผลที่ได้ คือ
เมื่อโรงเรียนมีการเลือกสื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับตัวผู้เรียนและมีการจัดกิจกรรมต่างๆ
ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตลอดเวลา จึงทำให้ผู้เรียนได้พัฒนาความคิดและมีความรู้มากยิ่งขึ้น
3. การจัดสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศ
นักเรียนจะอ่านออกและเขียนได้
เมื่ออยู่ในโรงเรียนที่เป็นโรงเรียนรู้หนังสือ (literacy school) ทางผู้บริหารและคณะครูจึงได้จัดบรรยากาศแวดล้อมภายในโรงเรียนให้เต็มไปด้วยสิ่งที่ให้นักเรียนอ่าน
เขียน คิด อยู่ตลอดเวลา แล้วก็มีป้ายนิเทศ แจ้งข้อมูล ข่าวสาร นำเสนอผลงานนักเรียน
ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนโดยตลอด มีมุมหรือมีฝาผนังที่เหมาะแก่การจัดวางเอกสาร
มีแท่นหรือโต๊ะสำหรับวางหนังสือประเภทต่าง ๆ ให้นักเรียนเลือกอ่านได้อย่างอิสระ มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
เช่น กิจกรรมห้องสมุด กิจกรรมประกวดการอ่าน กิจกรรมประกวดการเขียน
กิจกรรมเลือกหนังสือ กิจกรรมเล่านิทาน กิจกรรมแต่งเรื่องจากภาพสัปดาห์ละครั้ง กิจกรรมพูดรายงานหน้าเสาธง รายงานหน้าห้องเรียน
โดยเปิดโอกาสให้นักเรียนอ่านและเขียนได้อย่างอิสระโดยตลอดเวลา
เพื่อให้นักเรียนเกิดความคุ้นเคย
เห็นว่าการอ่านและการเขียนเป็นกิจกรรมหนึ่งในชีวิตประจำวัน
ไม่ทำให้พวกเขารู้สึกเบื่อหน่าย
และรู้สึกว่าเรื่องการอ่านและเขียนเป็นเรื่องที่ดูวิชาการ หนัก
หรือยากเกินไปสำหรับพวกเขา
ผลที่ได้ คือ
เมื่อบรรยากาศในโรงเรียนเต็มไปด้วยสิ่งที่นำไปสู่การพัฒนา การเรียนรู้
ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่จะทำให้ผู้เรียนได้ฝึกอ่าน ฝึกเขียน
นักเรียนเกิดการเรียนรู้ตลอดเวลา
ได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ก็จะนำไปสู่การพัฒนาที่ทำให้ผู้เรียน อ่านออก
เขียนได้มากขึ้น
4. จัดทำแผนงานโครงการเป็น ๒
โครงการสำคัญ คือ
1. โครงการป้องกันปัญหา
โครงการนี้จะต้องจัดทำอย่างจริงจังและถูกต้องเพื่อป้องกันปัญหาแบบยั่งยืนที่ชั้น
อนุบาล และชั้น ป.๑ นั่นก็คือ
(1) จัดกิจกรรมการเรียนการสอนระดับอนุบาลด้วยการเตรียมความพร้อมด้านทักษะภาษาก่อนขึ้น
ป.1 ดังนี้
-เปล่งคำและเปล่งเสียงพูดชัดเจนทุกเสียงอักขระในถ้อยคำต่างๆ
ไม่น้อยกว่าระดับชั้นอนุบาลละ 5,000 คำ
(รวมทั้งเปล่งเสียงท่องบทอาขยาน
ร้องเพลง และพูดสื่อสารถามตอบได้ชัดเจนตามเสียงอักขระและเสียงคำควบกล้ำ, ฟังนิทาน เรื่องเล่า
และพูดถามตอบได้ชัดเจนตามเสียงอักขระและเสียงคำควบกล้ำ)
-เปล่งเสียงท่องพยัญชนะ
ก - ฮ และสระทั้ง 32 สระ
ได้ถูกฐานเสียงจนเกิดทักษะจดจำได้
-มีพัฒนาการการจับดินสอ
ปรับระยะสายตา เขียนเส้นลีลาต่างๆ
และวาดรูปอย่างมีทักษะทิศทางเส้นสมบูรณ์ก่อนการเขียนตัวอักษร
-สามารถเขียนพยัญชนะ
ก - ฮ สระทั้ง 32 สระ วรรณยุกต์ทั้ง 4 รูป และตัวเลข 0 - 9
ฝึกเตรียมทักษะด้านภาษาเพียงเท่านี้ให้ได้อย่างครบถ้วนแท้จริง
โดยไม่ต้องฝึกอ่านและเขียนคำ เพราะขั้นตอนการฝึกอ่านและเขียนคำเป็นหน้าที่ของครู
ป.1 การเร่งฝึกอ่านเขียนก่อนวัยอันสมควร จะเป็นโทษแก่เด็กมากกว่าเป็นผลดี
ซ้ำยังทำให้ครูอนุบาลไม่มีเวลาฝึกเตรียมทักษะพื้นฐานข้างต้นให้สมบูรณ์เพียง
พออีกด้วย
(2) จัดการเรียนการสอนภาษาไทย ป.1
เพื่อการอ่านออกเขียนได้อย่างมีมาตรฐาน ดังนี้
-ครูจัดทำชาร์ตแบบฝึกอ่านเขียนที่ถูกต้องและมีมาตรฐานตามหนังสือ
เด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้แก้ง่ายนิดเดียว
-ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบันไดทักษะ
4 ขั้นวันละ 2 ชั่วโมง
-นักเรียนมี “สมุดคัดลายมือ” ที่แสดงผลการเรียนต่อเนื่อง
-นักเรียนมี “สมุดเขียนตามคำบอก” ที่แสดงผลการเรียนต่อเนื่องอย่างสอดคล้องกับสมุดคัดลายมือ
และแสดงผลการแก้ไขปรับปรุงอย่างมีพัฒนาการ
-ครูมีบัญชีแสดงการมาเรียนของนักเรียน
-เมื่อสอนครบเนื้อหาหลักสูตรได้มีการทดสอบ
“เขียนตามคำบอก” ด้วยคำมาตรฐาน 50 คำและแสดงหลักฐานได้อย่างเป็นระบบที่ง่ายต่อการตรวจสอบ
2.
โครงการเฉพาะกิจแก้ปัญหาเร่งด่วนที่ชั้น ป.2 ขึ้นไป
เนื่องจากเด็กที่เลื่อนชั้นจาก
ป.1 มาอยู่ในชั้นเรียนต่างๆ
ขณะนี้จำนวนมากยังอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้
จึงจำเป็นต้องจัดทำโครงการแก้ปัญหาเฉพาะกิจเร่งด่วน ดังนี้
(1) สำรวจสภาพปัญหาด้วยการให้เด็กชั้น ป.2 ขึ้นไปเขียนตามคำบอกจากคำทดสอบ 50 คำ
โดยที่คำทดสอบนี้มีมาตรฐานพื้นทักษะระดับชั้น ป.1
ซึ่งมีค่าความยากง่ายเฉลี่ยองค์ประกอบของคำครอบคลุม
-คำที่มีพยัญชนะต้นอักษรสามหมู่
-คำที่สะกดตรงมาตราทั้ง
9 แม่
-คำที่ประสมสระไม่น้อยกว่า
20 สระขึ้นไป
-คำควบกล้ำและคำอักษรนำ
-คำผันเสียงวรรณยุกต์ทั้งสามหมู่อักษร
ชุดคำทดสอบ 50 คำ มีให้เลือกในหนังสือ
เด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้แก้ง่ายนิดเดียว จำนวน ๒ ชุด
อาจออกคำทดสอบเพิ่มเติมจากหลักการมาตรฐานดังกล่าวได้อีกตามที่เห็นเหมาะสม
นักเรียนที่ได้คะแนนไม่ถึง
25 คะแนนให้คัดจำแนกเด็กเป็นกลุ่มๆ เข้าสู่โครงการแก้ปัญหา
(2) จำแนกเด็กเป็นกลุ่มๆ กลุ่มละไม่เกิน 20 คน โดยพิจารณาให้เด็กเรียนช้าอยู่กับช้า เด็กเรียนเร็วอยู่กับเร็ว
รวมทั้งดูวัยให้ใกล้เคียงกัน
และดูคะแนนความสามารถที่ใกล้เคียงกันให้อยู่กลุ่มเดียวกันด้วย
(3) จัดให้มีครูเป็นผู้รับผิดชอบจัดการเรียนการสอนเพื่อการแก้ปัญหาเป็นการ
เฉพาะ ครูคนหนึ่งจะรับผิดชอบเด็กได้ไม่เกิน 4 กลุ่ม
หรือไม่เกิน 80 คน
(4) ครูอาสาจัดกิจกรรมการเรียนการสอนกลุ่มละ 1 ชั่วโมงต่อวัน ดังนั้น ถ้ามีเด็ก 4 กลุ่มก็จะต้องสอนวันละ
4 รอบ รอบละ 1 กลุ่มต่อ 1 ชั่วโมง ดังนั้น ครูอาสาที่รับผิดชอบสอนวันละ 4
กลุ่ม ควรจะต้องว่างจากภารกิจอื่นอย่างสิ้นเชิง
เพื่อจะได้ทุ่มเทเวลาเพื่อกิจกรรมการสอนแก้ปัญหาอย่างแท้จริง
(5) ครูเขียนชาร์ตประกอบการสอนตามแบบฝึกในหนังสือ
เด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้แก้ง่ายนิดเดียว ดำเนินการสอนไปตามลำดับเนื้อหาอย่างครบถ้วน
โดยใช้กิจกรรมการสอนแบบบันไดทักษะ ๔ ขั้นทุกชั่วโมง คือ
ขั้นที่หนึ่ง แจกลูก ให้ผูกจำ
ขั้นที่สอง อ่านคำ ย้ำวิถี
ขั้นที่สาม คัดลายมือ ซ้ำอีกที
ขั้นที่สี่ เขียนคำบอก ทุกชั่วโมง
(6)
ครูดำเนินการสอนแก้ปัญหาไปจนครบถ้วนเนื้อหาเป็นเวลาไม่น้อยกว่ากลุ่มละ 90 ชั่วโมง หรือไม่น้อยกว่า 4 เดือน
หรืออาจเกินกว่าเวลาที่กำหนดนี้ก็ได้
ทั้งนี้ให้ถือเอาความมีสัมฤทธิผลของทักษะของเด็กแต่ละกลุ่มและแต่ละคนเป็น สำคัญ
(7) เมื่อสอนครบตามเนื้อหาให้ครูนำคำทดสอบ 50 คำใช้ครั้งแรกก่อนเข้าโครงการมาทดสอบให้เด็กเขียนตามคำบอกอีกครั้ง
เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการและผลสัมฤทธิ์ในการแก้ปัญหา (โดยทั่วไป
ถ้าครูอาสาดำเนินการอย่างครบถ้วนตามเนื้อหาแบบฝึก กระบวนการ และขั้นตอนต่างๆ
ดังที่กล่าวแล้ว โดยไม่มีปัญหาหรืออุปสรรคแทรกซ้อน จะได้ผล 100%)
(8) จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินโครงการเสนอผู้บริหารให้ทราบ
ผลที่ได้ คือ หลังจากที่ทางโรงเรียนได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมาปรากฏว่านักเรียนที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้มีพัฒนาการที่ดีขึ้น
สามารถเขียนตามคำบอกได้ และอ่านออกเสียงได้ชัดเจน
5. ขั้นตอนในการดำเนินงาน
1. สมาชิกแต่ละคนเสนอปัญหาที่พบในการเรียนการสอนของโรงเรียนแต่ละคน
1. มีสื่อหรือสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดการยั่วยุไปในทางที่ผิดๆ
2. ปัญหาทางด้านครอบครัว
3. นักเรียนขาดทักษะกระบวนการ ( ขาดการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ )
4. นักเรียนอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้
5. การขาดสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัย
6. การขาดเทคโนโลยีทางด้านการศึกษา
2. สมาชิกแต่ละคนช่วยกันเลือกปัญหาที่คิดว่าน่าจะเป็นปัญหาที่สำคัญที่สุดในการจัดการเรียนการสอนและเป็นปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน
ปัญหาที่เลือก
ในการจัดการเรียนการสอน พบปัญหา
คือ นักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ของโรงเรียนพรชัยวิชชาลัย
3. วางแผนการปฏิบัติงานโดยแบ่งหน้าที่ให้สมาชิกแต่ละคนทำ
4. สมาชิกทุกคนลงพื้นที่เพื่อสำรวจ ศึกษาหาข้อมูล
รวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมที่โรงเรียนพรชัยวิชชาลัย
5. สัมภาษณ์ ผอ. เก็บข้อมูล
6. รวบรวมข้อมูล
7. วิเคราะห์ข้อมูล
8. จัดทำเอกสาร
9. สรุปผลการดำเนินงาน
6. ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดในการดำเนินงาน
1.เวลาว่างของสมาชิกแต่ละคนในกลุ่มไม่ค่อยตรงกัน
2.บ้านของสมาชิกแต่ละคนในกลุ่มอยู่ไกลกันจึงทำให้การปรึกษาหารือเรื่องการทำงานเป็นไปด้วยความยากลำบาก
3.การเดินทางค่อนข้างลำบากเนื่องจากโรงเรียนมีระยะทางที่ค่อนข้างไกล
4.เนื่องจาก ผอ. มีภาระหน้าที่ค่อนข้างเยอะ
จึงทำให้มีเวลาในการสัมภาษณ์น้อยและเร่งรีบ
7. แผนการพัฒนานวัตกรรมเพื่อสนับสนุนส่งเสริมให้การพัฒนาการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
เพื่อรองรับกับการเรียนการสอน
ทางโรงเรียนจึงมีแผนที่จะพัฒนาสื่อโดยการจัดทำเป็น สื่อ CAI Replay ก็คือ
ในการจัดการเรียนการสอน แต่ละวิชา แต่ละเนื้อหาที่สอน ครูผู้สอนจะต้องมีการบันทึกจัดทำเป็นวิดีโอขึ้นมา
เพื่อช่วยให้นักเรียนบางคนที่ยังไม่เข้าใจในเนื้อหาหรือเรียนไม่ทันเพื่อน
สามารถเข้าไปดูสื่อตัวนี้ได้ที่เว็ปไซต์ของโรงเรียน
โดยเป็นการประหยัดเวลาตรงที่ครูผู้สอนจะได้ไม่ต้องกลับมาสอนเนื้อหาตรงนี้ซ้ำไปซ้ำมาและยังเป็นการสอนให้นักเรียนรู้จักศึกษาหาความรู้
เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง สามารถพัฒนาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น