วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

สรุปบทเรียนรายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ วันเสาร์ที่ 24 เดือนตุลาคม 2558

สรุปบทเรียนรายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ  วันเสาร์ที่ 24 เดือนตุลาคม 2558
ประวัติโรงเรียนพรชัยวิชชาลัย
     โรงเรียนพรชัยวิชชาลัย  เป็นโรงเรียนประเภทสามัญศึกษา รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ อยู่ในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 โรงเรียนได้รับอนุญาตให้เปิดสอนในระดับประถมศึกษา เมื่อวันที่  15   กุมภาพันธ์  2556 รับเด็กนักเรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่   1  ถึงประถมศึกษาปีที่  6  ประเภทไปกลับ  เปิดปีแรกมีนักเรียนย้ายเข้าเรียนจากระดับชั้นประถมศึกษาปีที่  1-6  ทั้งหมด  355 คน  และในปีการศึกษา  2558  เปิดทำการสอนระดับชั้นอนุบาล   ปีที่ 1-3 และ  ในปีการศึกษา  2559  จะเปิดทำการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 โดยมี  นายพรชัย  มูลมี เป็นผู้รับใบอนุญาต/ผู้จัดการ/ผู้อำนวยการ
   
ปรัชญาการศึกษาของโรงเรียน         :    การศึกษาเป็นการพัฒนาชีวิต  ชีวิตจะมีการพัฒนา  การศึกษาเป็นปัจจัย
สีประจำโรงเรียน                                :    สีฟ้า – เทา
คติพจน์ของโรงเรียน                          :    เรียนดี  มีวินัย  ใฝ่คุณธรรม  เป็นผู้นำอาเซียน
โรงเรียนพรชัยวิชชาลัยอักษรย่อว่า  :  พช
ชื่อเป็นภาษาอังกฤษ  : PORNCHAIRITCHALAI   อักษรย่อว่า  PC
สถานที่ตั้ง
 เลขที่  118  หมู่  11  บ้านภูเงิน  ตำบลนิคมห้วยผึ้ง  อำเภอห้วยผึ้ง  จังหวัดกาฬสินธุ์   บนเนื้อที่   6  ไร่        รหัสไปรษณีย์  46240  โทรศัพท์  043840832 มือถือ  081-4991469  โทรสาร 043840831
E-mail address        krupe@hotmail.co.th        Website  :  www.pctutorkrupc.com


เหตุผลที่ศึกษาโรงเรียนนี้
                เนื่องจากโรงเรียนพรชัยวิชชาลัยเป็นโรงเรียนที่พึ่งทำการเปิดใหม่และเป็นโรงเรียนที่เปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลจนถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ และเป็นโรงเรียนเอกชน ที่รับนักเรียนเข้ามาศึกษาด้วยวิธีการรับสมัคร ไม่ได้ทำการสอบคัดเลือกเข้ามาเรียนเหมือนโรงเรียนอื่นๆ จึงมีนักเรียนที่มาจากหลายครอบครัว มีทั้งเด็กเก่ง  เด็กปานกลาง เด็กอ่อน มาอยู่รวมกัน สิ่งที่น่าสนใจของโรงเรียนก็คือ โรงเรียนจะเน้นด้านวิชาการเป็นสำคัญและส่งนักเรียนไปแข่งขันทางวิชาการจนได้รับรางวัลมากมาย แต่ก็จะมีเด็กบางส่วนที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ทางโรงเรียนก็มาพิจารณาว่าสาเหตุเกิดจากอะไรกันแน่  ระหว่างตัวเด็กนักเรียนที่ขาดความสนใจเรียนลงไป อันเนื่องมาจากสื่อและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ครูผู้สอนในระดับประถมศึกษาที่ไม่ได้เรียนจบมาทางด้านการสอนภาษาไทย ทำให้สอนไม่เป็น ขาดหลักการ ขาดกลวิธีการสอนอ่าน ไม่สนใจสอน ปล่อยปละละเลย โรงเรียนไม่มีระบบรองรับที่จะช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหาเฉพาะ สื่อการเรียนการสอนภาษาไทย ที่มีลักษณะยัดเยียดความรู้ปลีกย่อยที่ไม่จำเป็น ไม่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก หรือจะอยู่ที่ผู้ปกครอง ที่ไม่ได้ใช้เวลาที่บ้านพัฒนาด้านการอ่านหรือเขียน ไม่จัดหาหนังสือ หรือส่งเสริมการอ่านของบุตรหลาน จากนั้นทางโรงเรียนจึงทำโครงการขึ้นมาเพื่อพัฒนาให้เด็กส่วนนี้อ่านออกเขียนได้ และเพื่อทดสอบความรู้ความสามารถของผู้เรียนทางโรงเรียนจึงให้เด็กไปสอบแข่งขันทางวิชาการยังสถานที่ต่างๆ เพื่อให้เด็กได้ทดสอบความรู้และทำให้เด็กเกิดความกระตือรือร้นในการเรียนมากยิ่งขึ้น
4. ผลสำเร็จปัญหาในการจัดการเรียนการสอน
                ปัญหานักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้  ซึ่งเป็นปัญหาที่ทางโรงเรียนจะต้องให้ความสนใจและหาวิธีแก้ไขโดยเร่งด่วน ดังนี้
                1. มีการทดสอบความรู้ของนักเรียนที่มาสมัครเรียนเพื่อจัดแยกห้องเรียนตามศักยภาพ
                 เป็นการจัดนักเรียนทั้งระดับชั้น ให้เข้าห้องเรียนใหม่ตามศักยภาพหรือความสามารถทางภาษาของตนเอง  โดยที่ครูผู้สอนจะต้องเตรียมการสอนในกลุ่มการเรียนรู้ที่มีความสอดคล้องกับศักยภาพของเด็กด้วย  ซึ่งในห้องที่นักเรียนอ่านไม่ออก หรือเขียนไม่ได้ หรือห้องที่มีความสามารถต่ำสุดนั้น โรงเรียนจะจัดครูเข้าช่วยพัฒนานักเรียนได้มากกว่า คน หรือใช้ครูที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องของการสอนให้อ่านออกเขียนได้เข้ามา โดยใช้วิธีสอนและสื่อการสอนที่เข้มข้นมากกว่าชั้นเรียนอื่น ๆ เพื่อช่วยเหลือและพัฒนานักเรียนกลุ่มนี้เป็นการเฉพาะ
                ผลที่ได้ คือ ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียน เพราะการเรียนส่วนใหญ่ผู้เรียนจะแข่งกันเรียนจึงทำให้ผู้เรียนขยันที่จะใฝ่รู้ ใฝ่เรียน มากยิ่งขึ้น เนื่องจากกลัวเรียนไม่ทันเพื่อน

2. สื่อและวัสดุการเรียนรู้ 
                หนังสือเรียนที่กระทรวงศึกษาธิการใช้ แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อการพัฒนา การอ่านออกเขียนได้ ทางโรงเรียนจึงได้จัดหาสื่อการเรียนการสอน จำพวกหนังสือส่งเสริมการอ่าน ไม่ว่าจะเป็นนิทาน เรื่องสั้น หนังสือสำหรับเด็กที่มีรูปภาพประกอบสวยงามน่าอ่าน เพื่อมาจูงใจให้นักเรียนสนใจ การอ่านเพิ่มเติมด้วย และจัดให้มีมุมหนังสือภายในห้อง หรือทุก ๆ ที่ในโรงเรียน เช่น จัดสถานที่บริเวณที่นักเรียนรอผู้ปกครองมารับให้มีมุมหนังสือสำหรับอ่านรอ นอกจากนี้ ยังจัดทำแบบฝึก เพื่อฝึกหัดให้นักเรียนเขียนและอ่านอย่างเป็นระบบ ไล่ลำดับตามความยากง่าย ซึ่งโรงเรียนก็ได้จัดทำขึ้นเองตามบริบท ของโรงเรียน เพราะปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ในแต่ละห้องนั้นแตกต่างกัน
                 ผลที่ได้ คือ  เมื่อโรงเรียนมีการเลือกสื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับตัวผู้เรียนและมีการจัดกิจกรรมต่างๆ ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตลอดเวลา จึงทำให้ผู้เรียนได้พัฒนาความคิดและมีความรู้มากยิ่งขึ้น
                3. การจัดสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศ
                นักเรียนจะอ่านออกและเขียนได้ เมื่ออยู่ในโรงเรียนที่เป็นโรงเรียนรู้หนังสือ (literacy school) ทางผู้บริหารและคณะครูจึงได้จัดบรรยากาศแวดล้อมภายในโรงเรียนให้เต็มไปด้วยสิ่งที่ให้นักเรียนอ่าน เขียน คิด อยู่ตลอดเวลา แล้วก็มีป้ายนิเทศ แจ้งข้อมูล ข่าวสาร นำเสนอผลงานนักเรียน ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนโดยตลอด มีมุมหรือมีฝาผนังที่เหมาะแก่การจัดวางเอกสาร มีแท่นหรือโต๊ะสำหรับวางหนังสือประเภทต่าง ๆ ให้นักเรียนเลือกอ่านได้อย่างอิสระ มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน เช่น กิจกรรมห้องสมุด กิจกรรมประกวดการอ่าน กิจกรรมประกวดการเขียน กิจกรรมเลือกหนังสือ กิจกรรมเล่านิทาน กิจกรรมแต่งเรื่องจากภาพสัปดาห์ละครั้ง  กิจกรรมพูดรายงานหน้าเสาธง รายงานหน้าห้องเรียน โดยเปิดโอกาสให้นักเรียนอ่านและเขียนได้อย่างอิสระโดยตลอดเวลา เพื่อให้นักเรียนเกิดความคุ้นเคย เห็นว่าการอ่านและการเขียนเป็นกิจกรรมหนึ่งในชีวิตประจำวัน ไม่ทำให้พวกเขารู้สึกเบื่อหน่าย และรู้สึกว่าเรื่องการอ่านและเขียนเป็นเรื่องที่ดูวิชาการ หนัก หรือยากเกินไปสำหรับพวกเขา
                ผลที่ได้ คือ เมื่อบรรยากาศในโรงเรียนเต็มไปด้วยสิ่งที่นำไปสู่การพัฒนา การเรียนรู้ ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่จะทำให้ผู้เรียนได้ฝึกอ่าน ฝึกเขียน นักเรียนเกิดการเรียนรู้ตลอดเวลา ได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ก็จะนำไปสู่การพัฒนาที่ทำให้ผู้เรียน อ่านออก เขียนได้มากขึ้น
                4. จัดทำแผนงานโครงการเป็น ๒ โครงการสำคัญ คือ
                                1. โครงการป้องกันปัญหา
โครงการนี้จะต้องจัดทำอย่างจริงจังและถูกต้องเพื่อป้องกันปัญหาแบบยั่งยืนที่ชั้น อนุบาล และชั้น ป.๑ นั่นก็คือ
                                                (1) จัดกิจกรรมการเรียนการสอนระดับอนุบาลด้วยการเตรียมความพร้อมด้านทักษะภาษาก่อนขึ้น ป.1 ดังนี้
-เปล่งคำและเปล่งเสียงพูดชัดเจนทุกเสียงอักขระในถ้อยคำต่างๆ ไม่น้อยกว่าระดับชั้นอนุบาลละ 5,000 คำ
(รวมทั้งเปล่งเสียงท่องบทอาขยาน ร้องเพลง และพูดสื่อสารถามตอบได้ชัดเจนตามเสียงอักขระและเสียงคำควบกล้ำฟังนิทาน เรื่องเล่า และพูดถามตอบได้ชัดเจนตามเสียงอักขระและเสียงคำควบกล้ำ)
-เปล่งเสียงท่องพยัญชนะ ก - ฮ และสระทั้ง 32 สระ ได้ถูกฐานเสียงจนเกิดทักษะจดจำได้
-มีพัฒนาการการจับดินสอ ปรับระยะสายตา เขียนเส้นลีลาต่างๆ และวาดรูปอย่างมีทักษะทิศทางเส้นสมบูรณ์ก่อนการเขียนตัวอักษร
-สามารถเขียนพยัญชนะ ก - ฮ สระทั้ง 32 สระ วรรณยุกต์ทั้ง 4 รูป และตัวเลข 9
ฝึกเตรียมทักษะด้านภาษาเพียงเท่านี้ให้ได้อย่างครบถ้วนแท้จริง โดยไม่ต้องฝึกอ่านและเขียนคำ เพราะขั้นตอนการฝึกอ่านและเขียนคำเป็นหน้าที่ของครู ป.1 การเร่งฝึกอ่านเขียนก่อนวัยอันสมควร จะเป็นโทษแก่เด็กมากกว่าเป็นผลดี ซ้ำยังทำให้ครูอนุบาลไม่มีเวลาฝึกเตรียมทักษะพื้นฐานข้างต้นให้สมบูรณ์เพียง พออีกด้วย
                                                (2) จัดการเรียนการสอนภาษาไทย ป.1 เพื่อการอ่านออกเขียนได้อย่างมีมาตรฐาน ดังนี้
-ครูจัดทำชาร์ตแบบฝึกอ่านเขียนที่ถูกต้องและมีมาตรฐานตามหนังสือ เด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้แก้ง่ายนิดเดียว
-ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบันไดทักษะ 4 ขั้นวันละ 2 ชั่วโมง
-นักเรียนมี สมุดคัดลายมือ” ที่แสดงผลการเรียนต่อเนื่อง
-นักเรียนมี สมุดเขียนตามคำบอก” ที่แสดงผลการเรียนต่อเนื่องอย่างสอดคล้องกับสมุดคัดลายมือ และแสดงผลการแก้ไขปรับปรุงอย่างมีพัฒนาการ
-ครูมีบัญชีแสดงการมาเรียนของนักเรียน
-เมื่อสอนครบเนื้อหาหลักสูตรได้มีการทดสอบ เขียนตามคำบอก” ด้วยคำมาตรฐาน 50 คำและแสดงหลักฐานได้อย่างเป็นระบบที่ง่ายต่อการตรวจสอบ
                                2. โครงการเฉพาะกิจแก้ปัญหาเร่งด่วนที่ชั้น ป.2 ขึ้นไป
เนื่องจากเด็กที่เลื่อนชั้นจาก ป.1 มาอยู่ในชั้นเรียนต่างๆ ขณะนี้จำนวนมากยังอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ จึงจำเป็นต้องจัดทำโครงการแก้ปัญหาเฉพาะกิจเร่งด่วน ดังนี้
                                                (1) สำรวจสภาพปัญหาด้วยการให้เด็กชั้น ป.2 ขึ้นไปเขียนตามคำบอกจากคำทดสอบ 50 คำ โดยที่คำทดสอบนี้มีมาตรฐานพื้นทักษะระดับชั้น ป.1 ซึ่งมีค่าความยากง่ายเฉลี่ยองค์ประกอบของคำครอบคลุม
-คำที่มีพยัญชนะต้นอักษรสามหมู่
-คำที่สะกดตรงมาตราทั้ง 9 แม่
-คำที่ประสมสระไม่น้อยกว่า 20 สระขึ้นไป
-คำควบกล้ำและคำอักษรนำ
-คำผันเสียงวรรณยุกต์ทั้งสามหมู่อักษร
ชุดคำทดสอบ 50 คำ มีให้เลือกในหนังสือ เด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้แก้ง่ายนิดเดียว จำนวน ๒ ชุด อาจออกคำทดสอบเพิ่มเติมจากหลักการมาตรฐานดังกล่าวได้อีกตามที่เห็นเหมาะสม
นักเรียนที่ได้คะแนนไม่ถึง 25 คะแนนให้คัดจำแนกเด็กเป็นกลุ่มๆ เข้าสู่โครงการแก้ปัญหา
                                                (2) จำแนกเด็กเป็นกลุ่มๆ กลุ่มละไม่เกิน 20 คน โดยพิจารณาให้เด็กเรียนช้าอยู่กับช้า เด็กเรียนเร็วอยู่กับเร็ว รวมทั้งดูวัยให้ใกล้เคียงกัน และดูคะแนนความสามารถที่ใกล้เคียงกันให้อยู่กลุ่มเดียวกันด้วย
                                                (3) จัดให้มีครูเป็นผู้รับผิดชอบจัดการเรียนการสอนเพื่อการแก้ปัญหาเป็นการ เฉพาะ ครูคนหนึ่งจะรับผิดชอบเด็กได้ไม่เกิน 4 กลุ่ม หรือไม่เกิน 80 คน
                                                (4) ครูอาสาจัดกิจกรรมการเรียนการสอนกลุ่มละ 1 ชั่วโมงต่อวัน ดังนั้น ถ้ามีเด็ก 4 กลุ่มก็จะต้องสอนวันละ 4 รอบ รอบละ 1 กลุ่มต่อ 1 ชั่วโมง ดังนั้น ครูอาสาที่รับผิดชอบสอนวันละ 4 กลุ่ม ควรจะต้องว่างจากภารกิจอื่นอย่างสิ้นเชิง เพื่อจะได้ทุ่มเทเวลาเพื่อกิจกรรมการสอนแก้ปัญหาอย่างแท้จริง
                                                (5) ครูเขียนชาร์ตประกอบการสอนตามแบบฝึกในหนังสือ เด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้แก้ง่ายนิดเดียว ดำเนินการสอนไปตามลำดับเนื้อหาอย่างครบถ้วน โดยใช้กิจกรรมการสอนแบบบันไดทักษะ ๔ ขั้นทุกชั่วโมง คือ
                ขั้นที่หนึ่ง แจกลูก ให้ผูกจำ
                ขั้นที่สอง อ่านคำ ย้ำวิถี
                ขั้นที่สาม คัดลายมือ ซ้ำอีกที
                ขั้นที่สี่ เขียนคำบอก ทุกชั่วโมง
                                                (6) ครูดำเนินการสอนแก้ปัญหาไปจนครบถ้วนเนื้อหาเป็นเวลาไม่น้อยกว่ากลุ่มละ 90 ชั่วโมง หรือไม่น้อยกว่า 4 เดือน หรืออาจเกินกว่าเวลาที่กำหนดนี้ก็ได้ ทั้งนี้ให้ถือเอาความมีสัมฤทธิผลของทักษะของเด็กแต่ละกลุ่มและแต่ละคนเป็น สำคัญ
                                                (7) เมื่อสอนครบตามเนื้อหาให้ครูนำคำทดสอบ 50 คำใช้ครั้งแรกก่อนเข้าโครงการมาทดสอบให้เด็กเขียนตามคำบอกอีกครั้ง เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการและผลสัมฤทธิ์ในการแก้ปัญหา (โดยทั่วไป ถ้าครูอาสาดำเนินการอย่างครบถ้วนตามเนื้อหาแบบฝึก กระบวนการ และขั้นตอนต่างๆ ดังที่กล่าวแล้ว โดยไม่มีปัญหาหรืออุปสรรคแทรกซ้อน จะได้ผล 100%)
                                                (8) จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินโครงการเสนอผู้บริหารให้ทราบ
                ผลที่ได้ คือ หลังจากที่ทางโรงเรียนได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมาปรากฏว่านักเรียนที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้มีพัฒนาการที่ดีขึ้น สามารถเขียนตามคำบอกได้ และอ่านออกเสียงได้ชัดเจน
5. ขั้นตอนในการดำเนินงาน
                1. สมาชิกแต่ละคนเสนอปัญหาที่พบในการเรียนการสอนของโรงเรียนแต่ละคน
                                1. มีสื่อหรือสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดการยั่วยุไปในทางที่ผิดๆ
                                2. ปัญหาทางด้านครอบครัว
                                3. นักเรียนขาดทักษะกระบวนการ ( ขาดการคิดวิเคราะห์  สังเคราะห์ )                               
                                4. นักเรียนอ่านไม่ออก  เขียนไม่ได้
                                5. การขาดสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัย
                                6. การขาดเทคโนโลยีทางด้านการศึกษา
                2. สมาชิกแต่ละคนช่วยกันเลือกปัญหาที่คิดว่าน่าจะเป็นปัญหาที่สำคัญที่สุดในการจัดการเรียนการสอนและเป็นปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน
ปัญหาที่เลือก
                ในการจัดการเรียนการสอน พบปัญหา คือ  นักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ของโรงเรียนพรชัยวิชชาลัย
                3. วางแผนการปฏิบัติงานโดยแบ่งหน้าที่ให้สมาชิกแต่ละคนทำ
                4. สมาชิกทุกคนลงพื้นที่เพื่อสำรวจ ศึกษาหาข้อมูล รวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมที่โรงเรียนพรชัยวิชชาลัย
                5. สัมภาษณ์ ผอ. เก็บข้อมูล
                6. รวบรวมข้อมูล
                7. วิเคราะห์ข้อมูล
                8. จัดทำเอกสาร
                9. สรุปผลการดำเนินงาน
6. ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดในการดำเนินงาน
                1.เวลาว่างของสมาชิกแต่ละคนในกลุ่มไม่ค่อยตรงกัน
                2.บ้านของสมาชิกแต่ละคนในกลุ่มอยู่ไกลกันจึงทำให้การปรึกษาหารือเรื่องการทำงานเป็นไปด้วยความยากลำบาก
                3.การเดินทางค่อนข้างลำบากเนื่องจากโรงเรียนมีระยะทางที่ค่อนข้างไกล
                4.เนื่องจาก ผอ. มีภาระหน้าที่ค่อนข้างเยอะ จึงทำให้มีเวลาในการสัมภาษณ์น้อยและเร่งรีบ
               
7. แผนการพัฒนานวัตกรรมเพื่อสนับสนุนส่งเสริมให้การพัฒนาการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
                เพื่อรองรับกับการเรียนการสอน ทางโรงเรียนจึงมีแผนที่จะพัฒนาสื่อโดยการจัดทำเป็น สื่อ CAI Replay   ก็คือ ในการจัดการเรียนการสอน แต่ละวิชา แต่ละเนื้อหาที่สอน ครูผู้สอนจะต้องมีการบันทึกจัดทำเป็นวิดีโอขึ้นมา เพื่อช่วยให้นักเรียนบางคนที่ยังไม่เข้าใจในเนื้อหาหรือเรียนไม่ทันเพื่อน สามารถเข้าไปดูสื่อตัวนี้ได้ที่เว็ปไซต์ของโรงเรียน โดยเป็นการประหยัดเวลาตรงที่ครูผู้สอนจะได้ไม่ต้องกลับมาสอนเนื้อหาตรงนี้ซ้ำไปซ้ำมาและยังเป็นการสอนให้นักเรียนรู้จักศึกษาหาความรู้ เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง สามารถพัฒนาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ



สรุปเนื้อหารายวิชา  นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา ประจำวันเสาร์  ที่ 17 ตุลาคม 2558
1. การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
พัฒนารูปแบบหรือโปรแกรมสำหรับพัฒนาวิชาชีพครูระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาโดยใช้รูปแบบ Coaching ที่เน้นการพัฒนาชุมชุนแห่งการเรียนรู้ (Professional Learning Development) เน้นกระบวนการพัฒนาครูในโรงเรียน (School-based Practicum) เพื่อก่อให้เกิดชุมชนแห่งวิชาชีพ (Professional Community) ซึ่งสามารถขยายสู่การเรียนรู้และสร้างชุมชนระหว่างโรงเรียนหรือองค์กรและหน่วยงานอื่นๆ ได้ โดยเนื้อหาหลักในเอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการฯนี้ นำเสนอในประเด็นของทักษะแห่งศตวรรษที่ 21: สำคัญอย่างไร คืออะไร และจะทำสำเร็จได้อย่างไร การจัดการเรียนรู้ที่สามารถสะท้อนถึงการปลูกฝังทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 แก่ผู้เรียน กรณีศึกษาที่เน้นเรื่องการเรียนรู้จากรากฐานปัญหา



ครูเพื่อศิษย์ต้องฝึกฝนตนเองให้มีทักษะในการเป็นผู้สอนงาน (Coaching)  และเป็นพี่เลี้ยง (Mentoring)  หรือ  คุณอำนวย (facilitator) ในการเรียนรู้แบบ PBL (Project – Based Learning)   ของศิษย์ ครูต้องเลิกเป็นผู้สอน ผันตัวเองมาเป็นโค้ชหรือพี่เลี้ยง  ของการเรียนของศิษย์ที่ส่วนใหญ่เรียนแบบ PBL


Coaching


                 Coaching
-   ช่วงระยะเวลาสั้นๆ
-   กำหนดเป้าหมายเล็กๆ
-    เรียนรู้ร่วมกัน
-   ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญ
-    ให้ทางเลือก คำแนะนำ
                                Mentoring
-     ความสัมพันธ์ระยะยาว
-     มีเป้าหมายใหญ่
-     ระบบพี่ใหญ่ดูแลน้องเล็ก
-     เป็นผู้เชี่ยวชาญมีประสบการณ์
-     ให้ความรู้ช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง
            
                                       

                                       เครื่องมือที่ใช้ในการ Coaching & Mentoring

  บันได ขั้น (5L) สู่การพัฒนาผู้เรียน              



ในกระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุผลตามที่คาดหวังนั้น   มีมากมายหลายวิธี กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบบันได ขั้นก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่น่าสนใจ  ที่ครูสามารถนำไปปรับใช้ในกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามบริบทและธรรมชาติของวิชา โดยเฉพาะการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ


บันได  5  ขั้น C&M

บันได 5 ขั้น (5L) สู่การพัฒนาผู้เรียน ได้แก่
             ขั้น   L1  การตั้งประเด็นคำถาม/สมมติฐาน (Learning to Question) เป็นการฝึกให้ผู้เรียนรู้จักคิด สังเกต ตั้งข้อสงสัย ตั้งคำถามอย่างมีเหตุผลและสร้างสรรค์
              ขั้น  L2  การสืบค้นความรู้จากแหล่งเรียนรู้และสารสนเทศ (Learning to Search) เป็นการฝึกแสวงหาความรู้ ข้อมูล และสารสนเทศ จากแหล่งเรียนรู้อย่างหลากหลาย เช่น ห้องสมุด อินเตอร์เน็ต หรือจากการปฏิบัติทดลอง เป็นต้น
              ขั้น  L3  การสรุปองค์ความรู้ (Learning to Construct) เป็นการฝึกนำความรู้และสารสนเทศหรือข้อมูลที่ได้จากการอภิปราย การทดลอง มาคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสรุปเป็นองค์ความรู้
              ขั้น  L4  การสื่อสารและการนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพ (Learning to Communicate) เป็นการฝึกให้ความรู้ที่ได้มานำเสนอและสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพให้เกิดความเข้าใจ
              ขั้น  L5  การบริการสังคมและจิตสาธารณะ (Learning to Serve) เป็นการนำความรู้สู่การปฏิบัติ ซึ่งผู้เรียนจะต้องมีความรู้ในบริบทรอบตัวและบริบทโลกตามวุฒิภาวะที่เหมาะสม โดยจะนำองค์ความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสร้างสรรค์



สรุปบทเรียนรายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม 2558
สื่อการสอน

         สื่อการสอน (Instruction Media) หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ หรือวิธีการใด ๆ ก็ตามที่เป็นตัวกลางหรือพาหะ
ในการถ่ายทอดความรู้ ทัศนคติ ทักษะและประสบการณ์ไปสู่ผู้เรียน สื่อการสอนแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติพิเศษและมีคุณค่า
ในตัวของมันเองในการเก็บและแสดงความหมายที่เหมาะสมกับเนื้อหาและเทคนิควิธีการใช้อย่างมีระบบ

คุณสมบัติของสื่อการสอน

          สื่อการสอนมีคุณสมบัติพิเศษ 3 ประการ คือ
                1. สามารถจัดยึดประสบการณ์กิจกรรมและการกระทำต่าง ๆ ไว้ได้อย่างคงทนถาวร ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ในอดีต
หรือปัจจุบัน ทั้งในลักษณะของรูปภาพ เสียง และสัญลักษณ์ต่าง ๆ สามารถนำไปใช้ได้ตามความต้องการ
                2. สามารถจัดแจงจัดการและปรุงแต่งประสบการณ์ต่าง ๆ ให้ใช้ได้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน
เพราะสื่อการสอนบางชนิด สามารถใช้เทคนิคพิเศษเพื่อเอาชนะข้อจำกัดในด้านขนาด ระยะทาง เวลา และความเป็นนามธรรม
ของประสบการณ์ตามธรรมชาติได้
                3. สามารถแจกจ่ายและขยายของข่าวสารออกเป็นหลาย ๆ ฉบับเพื่อเผยแพร่สู่คนจำนวนมาก และสามารถใช้ซ้ำ ๆ ได้
หลาย ๆ ครั้ง ทำให้สามารถแก้ปัญหาในด้านการเรียนการสอนต่าง ๆ ทั้งการศึกษาในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียน
ได้เป็นอย่างดี

คุณค่าของสื่อการสอน
               
        1. เป็นศูนย์รวมความสนใจของผู้เรียน
        2. ทำให้บทเรียนเป็นที่น่าสนใจ
        3. ช่วยให้ผู้เรียนมีประสบการณ์กว้างขวาง
        4. ทำให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ร่วมกัน
        5. แสดงความหมายและสัญลักษณ์ต่าง ๆ
        6. ให้ความหมายแก่คำที่เป็นนามธรรมได้
        7. แสดงสิ่งที่ลี้ลับให้เข้าใจง่าย
        8. อธิบายสิ่งที่เข้าใจยากให้เข้าใจง่ายขึ้น
        9. สามารถเอาชนะข้อจำกัดต่าง ๆ เกี่ยวกับเวลา ระยะทางและขนาดได้ เช่น
                9.1 ทำให้สิ่งที่เคลื่อนไหวช้าให้เร็วขึ้นได้
                9.2 ทำให้สิ่งที่เคลื่อนไหวเร็วให้ช้าลงได้
                9.3 ย่อสิ่งที่ใหญ่เกินไปให้เล็กลงได้
                9.4 ขยายสิ่งที่เล็กเกินไปให้ใหญ่ขึ้นได้
                9.5 นำสิ่งที่อยู่ไกลเกินไปมาศึกษาได้
                9.6 นำสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตมาให้ดูได้

คุณค่าของสื่อการสอน จำแนกได้ 3 ด้าน คือ

         1. คุณค่าด้านวิชาการ
                 1.1 ทำให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์ตรง
                 1.2 ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดีกว่าและมากกว่าไม่ใช่สื่อการสอน
                 1.3 ลักษณะที่เป็นรูปธรรมของสื่อการสอน ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจความหมายของสิ่งต่าง ๆ ได้กว้างขวางและ
เป็นแนวทางให้เข้าใจสิ่งนั้น ๆ ได้ดียิ่งขึ้น
                 1.4 ส่วนเสริมด้านความคิด และการแก้ปัญหา
                 1.5 ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ถูกต้อง และจำเรื่องราวได้มากและได้นาน
                 1.6 สื่อการสอนบางชนิด ช่วยเร่งทักษะในการเรียนรู้ เช่น ภาพยนตร์ ภาพนิ่ง เป็นต้น
          2. คุณค่าด้านจิตวิทยาการเรียนรู้
                 2.1 ทำให้เกิดความสนใจ และต้องเรียนรู้ในสิ่งต่าง ๆ มากขึ้น
                 2.2 ทำให้เกิดความคิดรวบยอดเป็นเพียงอย่างเดียว
                 2.3 เร้าความสนใจ ทำให้เกิดความพึงพอใจ และยั่วยุให้กระทำกิจกรรมด้วยตนเอง
           3. คุณค่าด้านเศรษฐกิจการศึกษา
                 3.1 ช่วยให้ผู้เรียนที่เรียนช้าเรียนได้เร็วและมากขึ้น
                 3.2 ประหยัดเวลาในการทำความเข้าใจเนื้อหาต่าง ๆ
                 3.3 ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้เหมือนกันครั้งละหลาย ๆ คน
                 3.4 ช่วยขจัดปัญหาเรื่องเวลา สถานที่ ขนาด และระยะทาง

ประเภทของสื่อการสอน

        การจำแนกสื่อการสอนตามคุณสมบัติ
              ชัยยงค์ พรมวงศ์ (2523 : 112) ได้กล่าวไว้ว่า สื่อการสอนแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
                  1. วัสดุ (Materials) เป็นสื่อเล็กหรือสื่อเบา บางทีเรียกว่า Soft Ware สื่อประเภทนี้ผุพังได้ง่าย เช่น
                       - แผนภูมิ (Charts)
                       - แผนภาพ (Diagrams)
                       - ภาพถ่าย (Poster)
                       - โปสเตอร์ (Drawing)
                       - ภาพเขียน (Drawing)
                       - ภาพโปร่งใส (Transparencies)
                       - ฟิล์มสตริป (Filmstrip)
                       - แถบเทปบันทึกภาพ (Video Tapes)
                       - เทปเสียง (Tapes) ฯลฯ
                 2. อุปกรณ์ (Equipment) เป็นสื่อใหญ่หรือหนัก บางทีเรียกว่า สื่อ Hardware สื่อประเภทนี้ได้แก่
                       - เครื่องฉายข้ามศีรษะ (Overhead Projectors)
                       - เครื่องฉายสไลค์ (Slide Projectors)
                       - เครื่องฉายภาพยนตร์ (Motion Picture Projectors)
                       - เครื่องเทปบันทึกเสียง (Tape Receivers)
                       - เครื่องรับวิทยุ (Radio Receivers)
                       - เครื่องรับโทรทัศน์ (Television Receivers)
                 3. วิธีการ เทคนิค หรือกิจกรรม (Method Technique or Activities) ได้แก่
                       - บทบาทสมมุติ (Role Playing)
                       - สถานการณ์จำลอง (Simulation)
                       - การสาธิต (Demonstration)
                       - การศึกษานอกสถานที่ (Field Trips)
                       - การจัดนิทรรศการ (Exhibition)
                       - กระบะทราย (Sand Trays)

 ระบบ
จุดเด่นของระบบเป็นเรื่องของความสัมพันธ์เพื่อเป้าหมายร่วมกัน การดำเนินงานในลักษณะของระบบจึงไม่ใช่ต่างคนต่างทำ แต่จะเป็นการทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่องเพื่อให้บรรลุผลตามที่ตั้งไว้
องค์ประกอบหลักใหญ่ ๆ ที่สำคัญของการออกแบบและพัฒนาระบบการเรียนการสอนจะประกอบไปด้วยขั้นตอนหลักของระบบก็คือ
1. การวิเคราะห์
2. การออกแบบ
3. การพัฒนา
4. การทดลองใช้
5. การประเมินผลและปรับปรุง
การทำงานของระบบจะประกอบไปด้วยองค์ประกอบสำคัญ ดังนี้

1. ตัวป้อน (input) ได้แก่ ทรัพยากร หรือข้อมูลนำเข้า
2. กระบวนการเนินงาน (process) ได้แก่ การปฏิสัมพันธ์ขององค์ประกอบ เพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของผลผลิต
3. ผลผลิต (output) ได้แก่ จุดหมายปลายทางของการดำเนินการ
4. ข้อมูลป้อนกลับ (feedback) ได้แก่ข้อมูล ข้อเสนอแนะเพื่อใช้ปรับปรุงแก้ไขให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

องค์ประกอบทั้ง 4 จะเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันโดยตลอด การเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่ง จะมีผลต่อองค์ประกอบอื่นและข้อบกพร่องขององค์ประกอบหนึ่ง ก็จะส่งผลให้องค์ประกอบอื่นบกพร่องด้วย
1. ข้อมูลสู่การสอน (Input) ได้แก่ การวางแผนการสอนทั้งด้านจุดประสงค์การสอน เนื้อหาการจัดกิจกรรมการสอน การใช้สื่อการสอน และการวัดผลประเมินผลแล้วเขียนเป็นแผนการสอน
2. กระบวนการสอน (Process) เป็นขั้นดำเนินการสอนตามแผนการสอนที่เขียนขึ้น ตั้งแต่การนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นการสอน และขั้นสรุป ในขั้นนี้หัวใจสำคัญอยู่ที่การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยใช้ทักษะและเทคนิคการสอนของผู้สอนที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด เมื่อดำเนินการสอนแล้วต้องมีการวัดผลการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วย
3. ผลการสอน (Output) เป็นขั้นการประเมินพฤติกรรมผู้เรียนว่าเกิดผลสัมฤทธิ์มากน้อยเพียงใด หลังจากที่ได้ผ่านกระบวนการเรียนการสอนแล้วโดยนำผลการวัดมาประเมิน ถ้าผู้เรียนบรรลุผลตรงตามวัตถุประสงค์ก็แสดงว่าการจัดการเรียนการสอนประสบผลสำเร็จ
4. ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) เป็นขั้นการวิเคราะห์ผล หรือย้อนกลับมาพิจารณาว่าในการจัดการเรียนการสอนนั้นมีข้อบกพร่องอะไรบ้าง มีปัญหาประการใด โดยพิจารณาจากผลลัพธ์ หรือผลสัมฤทธิ์ของ ผู้เรียน ถ้าผู้เรียนไม่บรรลุผลตามจุดประสงค์ ก็จำเป็นต้องพิจารณาหาสาเหตุว่ามีข้อบกพร่องในจุดใด แล้วปรับปรุงแก้ไขให้ได้ระบบการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพเพื่อนำไปใช้ต่อไป



แหล่งเรียนรู้
ความหมายของแหล่งการเรียนรู้

        แหล่งการเรียนรู้  หมายถึง  แหล่งข่าวสารข้อมูล  สารสนเทศ  แหล่งความรู้ทางวิทยาการ
และประสบการณ์ที่สนับสนุนส่งเสริมให้ผู้เรียน ใฝ่เรียน ใฝ่รู้ แสวงหาความรู้และเรียนรู้ด้วยตนเอง
ตามอัธยาศัยอย่างกว้างขวางและต่อเนื่องจากแหล่งต่าง ๆ  เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้  และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
ความสำคัญของแหล่งการเรียนรู้    
        1.  เป็นแหล่งการศึกษาตามอัธยาศัย
        2.  เป็นแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต
        3.  เป็นแหล่งปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน  การศึกษาค้นคว้าและการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
        4.  เป็นแหล่งสร้างเสริมประสบการณ์ภาคปฏิบัติ
        5.  เป็นแหล่งสร้างเสริมความรู้  ความคิด  วิทยาการและประสบการณ์
วัตถุประสงค์ของการจัดแหล่งการเรียนรู้ในโรงเรียน   
        1.  พัฒนาโรงเรียนให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้  มีแหล่งข้อมูล  ข่าวสาร  ความรู้วิทยาการ  และสร้างเสริม ประสบการณ์ที่กว้างขวางหลากหลาย
        2.  เสริมสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ในโรงเรียน  โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
        3.  จัดระบบและพัฒนาเครือข่ายสารสนเทศ  และแหล่งการเรียนรู้ในโรงเรียน
        4.  ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้  เป็นผู้ใฝ่เรียน  ใฝ่รู้  และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง






ประเภทของแหล่งเรียนรู้  แหล่งการเรียนรู้แบ่งเป็น  2  ประเภท  ดังนี้

หรืออาจแบ่งแหล่งการเรียนรู้ที่อยู่รอบตัวผู้เรียน  

1. เทคโนโลยี  ได้แก่  
  • คอมพิวเตอร์   
  • อีเมล์ (e-mail)  
  • อินเทอร์เน็ต
2. สิ่งแวดล้อม  ได้แก่   
  • แหล่งน้ำ  เช่น  แม่น้ำ  ลำคลอง ห้วย  หนอง  บึง  วนอุทยาน
  • ภูเขา เช่น  ถ้ำ  หินงอก  หินย้อย 
  • สวนพฤกษศาสตร์  เช่น  สวนสมุนไพร  สวนป่าธรรมชาติ สวนพฤกษศาสตร์ในโรงเรียน  สวนสาธารณะ 
  • เขื่อน
3.  สถานที่  ได้แก่ 
  • สถานที่สำคัญทางศาสนา   เช่น  วัด  โบสถ์  มัสยิด  สุเหร่า   
  • ปูชณียสถาน โบราณสถาน  
  • โรงเรียน  
  • โรงพยาบาล 
  • ไปรษณีย์  
  • สถานีตำรวจ  
  • พิพิธภัณฑ์  
  • ห้องสมุด  เช่น  ห้องสมุดโรงเรียน  ห้องสมุดในชุมชน
4.  สื่อสารมวลชน  ได้แก่  หนังสือพิมพ์  โทรทัศน์  ETV  วิทยุ  สารสนเทศ
5.  บุคลากร  ได้แก่  
  • เพื่อน  เช่น เพื่อนในห้องเรียน  เพื่อนในชุมชน  
  • ครู  เช่น ครูใหญ่  ผู้อำนวยการ  ครูวิชาต่าง ๆ  
  • ผู้นำชุมชน  เช่น ผู้นำศาสนา  
  • แพทย์  
  • องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)  
  • ตำรวจ
  • ภูมิปัญญาชาวบ้าน  เช่น  ดนตรี  ก่อสร้าง  ยารักษาโรค  การนวดแผนโบราณ


การบูรณาการหมายถึง  การนำศาสตร์หรือความรู้วิชาต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กันนำมาเข้าด้วยกันหรือผสมผสานได้อย่างกลมกลืน เพื่อนำมาจัดเป็นการเรียนการสอนภายใต้หัวข้อเดียวกัน เชื่อมโยงกันเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยมีการเน้นองค์รวมของเนื้อหามากกว่าองค์ความรู้ของแต่ละรายวิชา และเน้นการสร้างความรู้ของผู้เรียนที่มากกว่า การให้เนื้อหาโดยครูเป็นผู้กำหนด

ลักษณะสำคัญของการสอนแบบบูรณาการ
1.เป็นการบูรณาการระหว่างความรู้ กระบวนการ และการปฏิบัติ
2.เป็นการบูรณาการระหว่างวิชาได้อย่างกลมกลืน
3.เป็นการบูรณาการระหว่างสิ่งที่เรียนกับชีวิตจริง
4.เป็นการบูรณาการเพื่อจัดความซ้ำซ้อนของเนื้อหาต่างๆ
5.เป็นการบูรณาการให้เกิดความสัมพันธ์กันระหว่างความคิดรวบยอดของวิชาต่าง ๆ เพื่อทำให้เกิดการเรียนรู้ที่มีความหมาย

การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ
การจัดการเรียนการสอนในการเขียนแผนการสอนของผู้สอนแบ่งออกเป็น 2 ประเภท (การเขียนแผนแบบบูรณาการมีมากกว่านี้ ตามความเหมาะสม) ดังนี้
(1)การบูรณาการภายในวิชา มีจุดเน้นอยู่ภายในวิชาเดียวกันอาจนำวิชาต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กันมาบูรณาการกันเองของวิชานั้นและไม่แยกหรือขยายไปกับวิชาอื่น
(2)การบูรณาการระหว่างวิชา มีจุดเน้นอยู่ที่การนำวิชาอื่นเข้าเชื่อมโยงด้วยกัน ตั้งแต่ 2 วิชาขึ้นไป โดยภายใต้หัวข้อเดียวกันว่าวิชาใดที่สามารถนำเข้ามาบูรณาการด้วยกันได้ ไม่จำเป็นว่าต้องทุกวิชา หรือทุกกลุ่มประสบการณ์เข้าด้วยกัน หรืออาจครบทุกวิชาหรือทุกกลุ่มประสบการณ์ก็ได้



การวางแผนการจัดทำแผนแบบบูรณาการ
การจัดทำแผนการสอนแบบบูรณาการ เป็นการนำวิชาการต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กันมาเชื่อมโยงกัน ซึ่งสามารถทำได้โดยการสร้างหัวข้อเรื่องที่มีความสอดคล้องกับวิชานั้น ๆ เข้าด้วยกัน ผู้สอนต้องคำนึงสิ่งต่อไปนี้
1. การเลือกหัวเรื่อง จากประเด็นต่าง ๆ ที่ต้องการเรียน เช่น ประเด็นแนวคิด ประเด็นของเนื้อหา เมื่อได้แล้วนำจุดประสงค์ของแต่ละรายวิชา ที่ต้องการให้เกิดการเรียนรู้ของผู้เรียน เข้ามาสร้างเป็นกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการ
2. การนำจุดประสงค์ของรายวิชาต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กันมาสร้างเป็นหัวข้อเรื่องและนำมาจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการ

ประโยชน์ของการบูรณาการ
1. เป็นการนำวิชาหรือศาสตร์ต่าง ๆ เชื่อมโยงกันภายใต้หัวข้อเดียวกัน
2. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนที่ลึกซึ้ง และมีลักษณะใกล้เคียงกับชีวิตจริง  
3. ช่วยให้ผู้เรียนได้รับความรู้ ความเข้าใจ ในลักษณะองค์รวม
4. ช่วยให้ผู้เรียนสามารถแสวงหาความรู้ ความเข้าใจ จากสิ่งต่าง ๆ ที่มีอยู่รอบตัว
5. เป็นแนวทางที่ช่วยให้ครูได้ทำงานร่วมกัน หรือประสานงานร่วมกันอย่างมีความสุข
6. ส่งเสริม สนับสนุนให้ครูได้คิดวิธีการหรือนำเทคนิคใหม่ ๆ มาใช้

การวัดผลและประเมินผล

การวัดผล (Measurement) คือการกำหนดตัวเลขให้กับวัตถุ สิ่งของ เหตุการณ์ ปรากฎการณ์ หรือพฤติกรรมต่าง ๆ หรืออาจใช้เครื่องมือไปวัดเพื่อให้ได้ตัวเลขแทนคุณลักษณะต่าง ๆ เช่น ใช้ไม้บรรทัดวัดความกว้างของหนังสือได้ 3.5 นิ้ว ใช้เครื่องชั่งวัดน้ำหนักของเนื้อหมูได้ 0.5 กิโลกรัม ใช้แบบทดสอบวัดความรอบรู้ในวิชาภาษาไทยของเด็กชายแดงได้ 42 คะแนน เป็นต้น
การวัดผลแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
1. วัดทางตรง วัดคุณลักษณะที่ต้องการโดยตรง เช่น ส่วนสูง น้ำหนัก ฯลฯ มาตราวัดจะอยู่ในระดับ Ratio Scale
2. วัดทางอ้อม วัดคุณลักษณะที่ต้องการโดยตรงไม่ได้ ต้องวัดโดยผ่านกระบวนการทางสมอง เช่น วัดความรู้ วัดเจตคติ วัดบุคลิกภาพ ฯลฯ มาตราวัดจะอยู่ในระดับ Interval Scale
การวัดทางอ้อมแบ่งออกเป็น 3 ด้านคือ
2.1 ด้านสติปัญญา (Cognitive Domain) เช่น วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วัดเชาวน์ปัญญา วัดความถนัดทางการเรียน วัดความคิดสร้างสรรค์ ฯลฯ
2.2 ด้านความรู้สึก (Affective Domain) เช่น วัดความสนใจ วัดเจตคติ วัดบุคลิกภาพ วัดความวิตกกังวล วัดจริยธรรม ฯลฯ
2.3 ด้านทักษะกลไก (Psychomotor Domain) เช่น การเคลื่อนไหว การปฏิบัติโดยใช้เครื่องมือ ฯลฯ
การประเมินผล (Evaluation) หมายถึง การนำเอาข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้จากการวัดรวมกับการใช้วิจารณญาณของผู้ประเมินมาใช้ในการตัดสินใจ โดยการเปรียบเทียบกับเกณฑ์ เพื่อให้ได้ผลเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เนื้อหมูชิ้นนี้หนัก 0.5 กิโลกรัมเป็นเนื้อหมูชิ้นที่เบาที่สุดในร้าน (เปรียบเทียบกันภายในกลุ่ม) เด็กชายแดงได้คะแนนวิชาภาษาไทย 42 คะแนนซึ่งไม่ถึง 50 คะแนนถือว่าสอบไม่ผ่าน (ใช้เกณฑ์ที่ครูสร้างขึ้น) เป็นต้น
การประเมินผลแบ่งได้เป็น 2 ประเภท การประเมินแบบอิงกลุ่มและการประเมินแบบอิงเกณฑ์
1. การประเมินแบบอิงกลุ่ม เป็นการเปรียบเทียบคะแนนจากแบบทดสอบหรือผลงานของบุคคลใดบุคคลหนึ่งกับบุคคลอื่น ๆ ที่ได้ทำแบบทดสอบเดียวกันหรือได้ทำงานอย่างเดียวกัน นั่นคือเป็นการใช้เพื่อจำแนกหรือจัดลำดับบุคคลในกลุ่ม การประเมินแบบนี้มักใช้กับการ การประเมินเพื่อคัดเลือกเข้าศึกษาต่อ หรือการสอบชิงทุนต่าง ๆ
2. การประเมินแบบอิงเกณฑ์ เป็นการเปรียบเทียบคะแนนจากแบบทดสอบหรือผลงานของบุคคลใดบุคคลหนึ่งกับเกณฑ์หรือจุดมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้ เช่น การประเมินระหว่างการเรียนการสอนว่าผู้เรียนได้บรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ได้กำหนดไว้หรือไม่ข้อแตกต่างระหว่างการประเมินผลแบบอิงกลุ่มและอิงเกณฑ์
การประเมินผลแบบอิงกลุ่ม
1. เป็นการเปรียบเทียบคะแนนที่ได้กับคะแนนของคนอื่น ๆ
2. นิยมใช้ในการสอบแข่งขัน
3. คะแนนจะถูกนำเสนอในรูปของร้อยละหรือคะแนนมาตรฐาน
4. ใช้แบบทดสอบเดียวกันทำหรับผู้เรียนทั้งกลุ่มหรืออาจใช้แบบทดสอบคู่ขนาน เพื่อให้สามารถเปรียบเทียบกันได้
5. แบบทดสอบมีความยากง่ายพอเหมาะ มีอำนาจจำแนกสูง
6. เน้นความเที่ยงตรงทุกชนิด
การประเมินแบบอิงเกณฑ์
1. เป็นการเปรียบเทียบคะแนนที่ได้กับเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้
2. สำหรับการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนหรือเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน
3. คะแนนจะถูกนำเสนอในรูปของผ่าน-ไม่ผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
4. ไม่ได้เปรียบเทียบกับคนอื่น ๆ จึงไม่จำเป็นต้องใช้แบบทดสอบฉบับเดียวกันกับผู้เรียนทั้งชั้น
5. ไม่เน้นความยากง่าย แต่อำนาจจำแนกควรมีพอเหมาะ


6. เน้นความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา

สรุปเนื้อหาการเรียน รายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา (วันที่ 3 ตุลาคม 2558) สอนโดย อาจารย์ภัทรดร จั้นวันดี


สรุปเนื้อหาการเรียน
-  ได้รับมอบหมาย ในหัวข้อ แหล่งเรียนรู้

ความหมายของแหล่งเรียนรู้
          แหล่งเรียนรู้ หมายถึง แหล่งข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศ และประสบการณ์ ที่สนับสนุนส่งเสริมให้ผู้เรียนใฝ่เรียน ใฝ่รู้ แสวงหาความรู้และเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย อย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้

ความสำคัญของแหล่งเรียนรู้
          1. แหล่งการศึกษาตามอัธยาศัย
          2. 
แหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต
          3. 
แหล่งปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน การศึกษาค้นคว้า แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
          4. 
แหล่งสร้างเสริมประสบการณ์ภาคปฏิบัติ
          5. 
แหล่งสร้างเสริมความรู้ ความคิด วิทยาการและประสบการณ์

แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน

ประเภทของแหล่งเรียนรู้
          แหล่งเรียนรู้ จำแนกตามลักษณะที่ตั้งได้ ดังนี้
          1. แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน
          2. 
แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น

วัตถุประสงค์ของการจัดแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน
          1. เพื่อพัฒนาโรงเรียนให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ มีแหล่งข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ วิทยาการ และสร้างเสริมประสบการณ์ ที่กว้างขวางหลากหลาย
          2. 
เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ในโรงเรียน โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
          3. 
เพื่อจัดระบบและพัฒนาเครือข่ายสารสนเทศ และแหล่งการเรียนรู้ในโรงเรียน
          4. 
เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้ เป็นผู้ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง












แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น

วัตถุประสงค์ของการจัดแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น
          1. เป็นแหล่งการศึกษาตลอดชีวิตที่ประชาชนสามารถหาความรู้ต่างๆได้ด้วยตนเองตลอดเวลา
          2 .เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนและสังคม มีแหล่งการเรียนรู้เพื่อการศึกษาที่หลากหลาย สามารถเรียนรู้ได้ตามอัธยาศัย
          3. เป็นเครื่องมือที่สำคัญของบุคคลแห่งการเรียนรู้ ในการแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเอง

          แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น ได้แก่ ห้องสมุดประชาชน พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ หอศิลป์ สวนสัตว์ สวนสาธารณะ สวนพฤกษศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์การกีฬา สถานประกอบการ วัด ครอบครัว ชุมชน องค์การภาครัฐและภาคเอกชน แหล่งข้อมูล ภูมิปัญญาท้องถิ่น แหล่งการเรียนรู้อื่นๆ เป็นต้น


พิพิธภัณฑ์





สรุปเนื้อหาการเรียน  รายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาในวันที่  26    กันยายน  2558  สอนโดย อาจารย์ภัทรดร  จั้นวันดี 


รูปแบบขององค์ประกอบ  UNESCO MODEL


                      ระบบการเรียนการสอนประกอบด้วยส่วนย่อยต่างๆ ซึ่งมีความเกี่ยวพันกันและกัน ส่วนที่สำคัญคือกระบวนการเรียนการสอน ผู้สอนและผู้เรียน ยูเนสโก ( UNESCO )ได้เสนอรูปแบบขององค์ประกอบของระบบการเรียนการสอนไว้โดยมีองค์ประกอบ ส่วน คือ


1. องค์ประกอบของการสอนจะประกอบด้วย ผู้สอน ผู้เรียน สื่อ การเรียนการสอนวิธีสอนซึ่งทำงานประสานสัมพันธ์กัน อันจะเป็นพาหะ หรือแนวทางผสมกลมกลืนกับเนื้อหาวิชา


2.  กิจกรรมการเรียนการสอน จะต้องมีสื่อการเรียนการสอนและแหล่งที่มาของสื่อการเรียนการสอนเหล่านั้น


3. ผู้สอนต้องหาแนวทางแนะนำช่วยเหลือผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีที่สุด


4. การเสริมกำลังใจ การจูงใจแก่ผู้เรียน นับว่ามีอิทธิพลต่อการที่จะเสริมสร้างความสนใจให้การเรียนการสอนมีคุณภาพ


5. การประเมินผล ผลที่ออกมาอย่างมีประสิทธิภาพโดยการประเมินทั้งระบบ เพื่อดูว่าผลที่ได้นั้นเป็นอย่างไรเป็นการนำข้อมูลข้อเท็จจริงมาเปรียบเทียบกับประสิทธิผลของระบบ เพื่อการแก้ไปรับปรุงต่อไป


6. ผลที่ได้รับทั้งประเมิน เพื่อประเมินผลในการปรับปรุงและเปรียบเทียบกับการลงทุนในทางการศึกษาว่าเป็นอย่างไร



รูปแบบการสอนของแฮนนาฟิน แอนด์เพ็ค (Hannafin and Peck)

แฮนนาฟิน แอนด์เพ็ค (Hannafin and Peck)ได้พัฒนารูปแบบการสอนขึ้นในปี คศ. 1987

สำหรับออกแบบบทเรียนทั่ว ๆ ไป ซึ่งจำแนกออกเป็น 4 ขั้นตอนใหญ่ๆ ดังนี้
1. การประเมินความต้องการ (Needs Assessment) ได้แก่การประเมินความต้องการ
ของผู้เรียนเพื่อการเรียนการสอนหรือการฝึกอบรม เป็นกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาความ
จำเป็นของการใช้บทเรียนเพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ในขั้นตอนนี้จึงเป็นการทำงานด้าน
เอกสารเป็นส่วนใหญ่ เพื่อนำผลที่ได้ไปใช้ในการออกแบบบทเรียนให้สอดคล้องกับความต้องการในขั้นต่อไป ประกอบด้วยขั้นตอนย่อย ๆ ดังนี้
1.1 การกำหนดคุณสมบัติของผู้เรียน
1.2 การระบุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของบทเรียน
1.3 การกำหนดรูปแบบการนำส่งบทเรียน ได้แก่ซีดีรอม เว็บช่วยสอนไฮเปอร์มีเดีย
หรือเอกสาร เป็นต้น
1.4 การระบุข้อจำกัดในการใช้บทเรียน เช่น อายุผู้เรียน เวลา คอมพิวเตอร์สมรรถนะ
ที่จำเป็นของผู้เรียน และอื่น ๆหลังจากประเมินความต้องการในขั้นตอนแรก จะต้องมีการประเมินและปรับปรุงแก้ไข (Evaluation and Revision) ก่อนที่เข้าสู่ขั้นตอนของการออกแบบ (Design) ในขั้นที่สองต่อไป ซึ่งการประเมินความต้องการจะต้องมีความชัดเจนในประเด็นต่อ ไปนี้
1) การเรียนการสอนจะต้องมีความชัดเจน
2) บทเรียนต้องมีความเหมือนกัน (Consistently) ทุก ๆ บทเรียน
3) การออกแบบบทเรียนจะต้องมีเหตุผลและมีความเป็นมิตร (User-friendly)
4) กิจกรรมการเรียนรู้จะต้องง่ายต่อการติดตาม
5) เนื้อหาบทเรียนที่นำเสนอ ไม่ว่าจะเป็นข้อความ ภาพ กราฟิก หรือเสียงก็ตาม จะต้องมีความหมาย
6) การออกแบบ การกำหนดตำแหน่งหน้าจอ สีหรือ อื่น ๆ จะต้องสอดคล้องกับบทเรียน
2. การออกแบบ (Design) ได้แก่ การออกแบบบทเรียนตามผลลัพธ์ที่ได้จากการวิเคราะห์ความต้องการในขั้นตอนแรก โดยนำผลลัพธ์ที่ได้มาออกแบบบทเรียนตามกระบวนการเรียนรู้ผลลัพธ์ที่ได้จากขั้นตอนนี้จึงเป็นตัวบทเรียนต้นแบบที่พร้อมจะนำไปพัฒนาในขั้นต่อไป
3. การพัฒนาและการทดลองใช้ (Develop/Implement) ได้แก่ การพัฒนาเป็นบทเรียน
เช่น บทเรียนสำเร็จรูป บทเรียนคอมพิวเตอร์ หรือระบบการสอน ตามแนวทางการออกแบบที่ได้
จากขั้นตอนที่สอง หลังจากนั้นจึงนำไปทดลองใช้กับกลุ่มเป้าหมาย
4. การประเมินและสรุปผล (Evaluation and Revision) ได้แก่การประเมินผลบทเรียน
และสรุปผล เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปแก้ไขบทเรียนในโอกาสต่อไป


 สรุปบทเรียน วันเสาร์ที่ 19  กันยายน 2558   รายวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา   นางสาวธนาพร  สมรฤทธิ์  รหัส  212



ระบบการเรียนการสอนของคลอสเมียร์และริปเปิล Klausmeier & Ripple Model          คลอสเมียร์ และริปเปิล (Klausmeier; & Ripple. 1971: 11) ได้กำหนดองค์ประกอบของระบบการเรียนการสอนไว้ ส่วน คือ

           1. การกำหนดจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน
           2. การพิจารณาความพร้อมของผู้เรียน
           3. การจัดเนื้อหาวิชา วัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือต่าง ๆ
           4. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
           5. การดำเนินการสอน
           6. การวัดและประเมินผลการเรียนการสอน
           7. สัมฤทธิผลของนักเรียน

knirk & Gentry Model
   นิร์ค และเยนตรี (Knirk; & Gentry. 1971) 

ได้กำหนดองค์ประกอบของระบบการเรียนการสอนเป็น ส่วน คือ

  1. การกำหนดเป้าหมาย เป็นการกำหนดเป้าหมายของการสอนไว้อย่างกว้าง ๆ
  2. การวิเคราะห์กิจกรรม เป็นการวิเคราะห์งานต่าง ๆ ที่จะต้องทำโดยการย่อยเป้าหมายของการสอนออกเป็นจุดประสงค์ของการสอนเพื่อให้มีความละเอียดและชัดเจนยิ่งขึ้น
  3. การกำหนดกิจกรรม เป็นการกำหนดกิจกรรมให้เป็นหมวดหมู่ และเลือกเอาเฉพาะกิจกรรมที่มีความเหมาะสมที่สุด
  4. การดำเนินการสอน เป็นขั้นของการนำเอาแผนการที่วางไว้ไปสอนในชั้นเรียน ผู้สอนจำเป็นต้องควบคุมการดำเนินกิจกรรมให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด
  5. การประเมินผล เป็นการประเมินผลการดำเนินงานทั้งหมดของระบบ เพื่อให้ทราบจุดดีและจุดอ่อนที่จะต้องปรับปรุงแก้ไข
  6. การปรับปรุงแก้ไข เป็นขั้นของการนำข้อมูลที่ได้จากการประเมินผลไปแก้ไขจุดอ่อนของระบบการเรียนการสอนเพื่อจะทำให้เป็นระบบการเรียนการสอนที่มีความเหมาะสมหรือมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
องค์ประกอบของระบบการเรียนการสอนของเนิร์คและเยนตรี แสดงดังภาพประกอบ 1

Seels & Glasgow Model
ซีลส์ และกลาสโกว์ (Seels;& Glasgow. 1990) ได้เสนอการจัดระบบการเรียนการสอน โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. การวิเคราะห์ปัญหา (Problem Analysis) เป็นการพิจารณาว่าเกิดปัญหาอะไรในการเรียนการสอนโดยผ่านการรวบรวมและเทคนิคการประเมินและระบุสิ่งที่เป็นปัญหา
2. วิเคราะห์การสอนและกิจกรรม (Task and Instructional Analysis) เป็นการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อกำหนดด้านเจตคติเพื่อกำหนดสิ่งที่ได้เรียนมาก่อ3. การกำหนดวัตถุประสงค์และแบบทดสอบ (Objective and Tests) เป็นการกำหนดวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมและแบบทดสอบอิงเกณฑ์
4. กลยุทธ์การเรียนการสอน (Instructional Strategy) เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับกลยุทธ์และองค์ประกอบด้านการเรียนการสอน
5. การตัดสินใจเลือกสื่อการสอน (Media Decision) เป็นการเลือกสื่อการเรียนการสอนและวิธีการใช้เพื่อทำให้การเรียนการสอนบรรลุผล
6. การพัฒนาการสอน (Materials Development) เป็นการวางแผนสำหรับผลผลิต การพัฒนาวัสดุ เครื่องมือหรือโปรแกรมที่ใช้ในการเรียนการสอน
7. การประเมินผลย่อยระหว่างเรียน (Formative Evaluation) เป็นการประเมินผลเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน รวบรวมข้อมูล และตรวจสอบพัฒนาการของผู้เรียน
8. การนำไปใช้และบำรุงรักษา (Implementation Maintenance) เป็นการนำไปใช้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
 9. การประเมินผลรวมภายหลังการเรียน (Summative Evaluation) เป็นการพิจารณาประเมินผลว่าผ่านเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่
10. การเผยแพร่และขยายผล (Dissemination Diffusion) เป็นขั้นของการจัดการให้มีการเผยแพร่ ขยายผลนวัตกรรมการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น
องค์ประกอบของระบบการเรียนการสอนของซีลส์และกลาสโกว์ แสดงดังภาพประกอบ




สรุปเนื้อหาการเรียน รายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา (วันที่ 5 กันยายน 2558) สอนโดย อาจารย์ภัทรดร จั้นวันดี


OBE = Outcome Based Education ผลจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
-ใช้ ผลการเรียนรู้เป็นตัวกำหนดกระบวนการที่เหมาะสมสำหรับนักเรียน ใช้มาตรฐานตัวชี้วัด เป็นตัวตั้ง ถ้าคุณครูกำหนดมาตรฐานตัวชี้วัดมากเท่าไหร่การเรียนรู้ของนักเรียนยิ่ง ละเอียดมากเท่านั้น
-กระบวนการ ถือเป็นกุญแจแห่งความสำเร็จ
-การผลิตนักเรียนที่มีคุณภาพขึ้นอยู่กับการกำหนด LO =Learning Objective หรือ Outcome

การคิดเชิงวิเคราะห์  (Analytical Thinking) การพัฒนาเทคโนโลยี และคอมพิวเตอร์ ในช่วงทศวรรษที่ 80 ทำ ให้เกิดนวัตกรรมใหม่ทางการสื่อสารที่สามารถเชื่อมโยงสังคมต่างๆ ทุกมุมโลกให้เข้ามาใกล้ชิดกันมากขึ้น และได้ผลักดันทุกสังคมโลกเข้าสู่ยุคใหม่ทางวัฒนธรรม  ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่  หรือที่รู้จักกันในคำว่า โลกาภิวัตน์” (Globalization)
system Thinking  การคิดอย่างมีระบบ  มีเหตุมีผล  ทำให้ผลของการคิดหรือผลของการแก้ปัญหาที่ได้นั้นมีความถูกต้อง  แม่นยำและรวดเร็ว วิธีการคิดอย่างมีระบบจะเป็นหนทางไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)  ถ้าองค์กรนั้น ๆ นำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพและยึดหลักให้บุคลากรภายในองค์กร  ตระหนักในการศึกษาหาความรู้อยู่เสมอและผู้บริหารให้ความสำคัญต่อการฝึกอบรมการเรียนรู้ของบุคลากรองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)  จึงทำให้เกิดการเรียนรู้จากตัวเองของบุคลากรแต่ละคน  เกิดการเรียนรู้ของทีมงาน ทำให้เกิดการสร้างวิสัยทัศน์รวม (Shared Vision) และเกิดการเรียนรู้ร่วมกันอย่างเป็นทีม (Team Learning)
การคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking) คือ ทักษะการคิดเกี่ยวกับ ความตั้งใจที่จะพิจารณาตัดสินเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยการไม่เห็นคล้อยตามข้ออ้างต่างๆ แต่ตั้งคำถามท้าทาย หรือโต้แย้งข้ออ้างนั้นเพื่อเปิดแนวทางความคิดออกสู่ทางที่แตกต่าง อันนำไปสู่การแสวงหาคำตอบที่สมเหตุสมผล
การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (critical thinkingเป็น เรื่องที่มีความสำคัญ สำหรับสังคมที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี และการสื่อสารอยู่ตลอดเวลา จากเหตุการณ์หลายอย่างรอบๆ ด้านที่เกิดขึ้นจำเป็นต้องมีกระบวนการพิจารณ์เหตุการณ์เหล่านั้น โดยใช้ทักษะทางปัญญาในการไตร่ตรอง ใคร่ครวญ ด้วยการพินิจพิเคราะห์สรุปและตัดสินใจอย่างมีเหตุผล การคิดอย่างมีวิจารณญาณจึงเป็นการคิดที่ดีและมีคุณภาพ เพราะเป็นการคิดอย่างมีทิศทางและมีเป้าหมาย โดยคำนึงเหตุและผลมาประกอบการตัดสินใจและลงข้อสรุปได้อย่างน่าเชื่อถือ การฝึกการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ควรจะเริ่มแต่เนิ่นๆ เพราะเป็นการคิดที่พัฒนาได้ โดยผ่านประสบการณ์และการปฏิบัติ
 Logical Thinking จึง หมายถึง ความสามารถในการคิดหาเหตุผล จากความเชื่อ หลักฐาน หรือข้ออ้างที่มีอยู่แล้วนำมาเชื่อมโยงเป็นข้อสรุป เป็นการกระตุ้นให้เราใช้สมองทั้งสองซีกคือ ความคิดวิเคราะห์กับการใช้ความจำได้อย่างสมดุลกันเพื่อนำมาช่วยแก้ปัญหาหรือ ตัดสินใจในชีวิตประจำวัน  

แนวคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21st
(Framework for 21st Century Learning)
ทักษะสำคัญในศตวรรษที่ 21

ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม
• ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม
• การคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ปัญหา
• การสื่อสารและการร่วมมือ
ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี
• ความรู้พื้น ฐานด้านสารสนเทศ
• ความรู้พื้น ฐานด้านสื่อ
• ความรู้พื้น ฐานด้านไอซีที
ทักษะชีวิตและการทำงาน
• ความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับตัว
• ความคิดริเริ่มและการชี้นำตนเอง
• ทักษะทางสังคมและการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม
• การเพิ่มผลผลิตและรับผิดชอบตรวจสอบได้
• ความเป็นผู้นำและความรับผิดชอบ
การสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน
แนวคิดหลักของ "ห้องเรียนกลับด้าน" คือ "เรียนที่บ้าน-ทำการบ้านที่โรงเรียน" เป็นการนำสิ่งที่เดิมที่เคยทำในชั้นเรียนไปทำที่บ้าน และนำสิ่งที่เคยถูกมอบหมายให้ทำที่บ้านมาทำในชั้นเรียนแทน โดยยึดหลักที่ว่า เวลาที่นักเรียนต้องการพบครูจริงๆ คือ เวลาที่เขาต้องการความช่วยเหลือ เขาไม่ได้ต้องการให้ครูอยู่ในชั้นเรียนเพื่อสอนเนื้อหาต่างๆ เพราะเขาสามารถศึกษาเนื้อหานั้นๆ ด้วยตนเอง
ยุทธศาสตร์พระราชทาน


เข้าใจ
ปัจจัยสู่ความสำเร็จสู่กระบวนการเรียนรู้
  • Interest (ความสนใจของนักเรียน)
  • Intention (ความตั้งใจของนักเรียน+คุณครู)
  • Teaching (วิธีการสอนของคุณครู)
  • Aptitude (ความสามารถของนักเรียน)
  • Experience (ประสบการณ์สอนของครู)
  • Reponsibility (ความรับผิดชอบของครู)
  • Difficulty (ความยากง่ายของวิชา)

เข้าถึง
  • ผู้สอนต้องเข้าถึงผู้เรียน
  • ผู้สอนต้องมีวิทยาการสอน
  • ต้องเข้าใจลักษณะเด็กสมัยใหม่

พัฒนา
ครูที่มีศักยภาพควรมี
  • สอนเป็น นำเสนอเนื้อหาเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน
  • ใช้และใฝ่หาเทคนิคเพื่อกระตุ้นผู้เรียนอย่างสม่ำเสมอ
  • มีความคิดสร้างสรรค์
  • ประเมินตนเอง

Maslow’s Hierarchy of needs
  • ความต้องการทางกาย
  • ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย
  • ความต้องการความรักและเป็นที่ยอมรับ
  • ความต้องการได้รับการยกย่อง
  • ความต้องการความเข้าใจและรักตนเอง

การเรียนรู้มาจากไหน
  • 95% (สอนคนอื่น)
  • 80% (การทดลองประสบการณ์)
  • 70% (การพูดคุยแลกเปลี่ยน)
  • 50% (การเห็น การฟัง)
  • 30% (เห็น)
  • 20% (ฟัง)

·       การสอนเป็น คือ การสอนที่ทำให้ผู้เรียนได้รับความรู้
·       การสอนให้เป็นต้องเข้าใจหลักการเรียนรู้พื้นฐาน
·       ครูผู้สอนควรทำให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ในการเรียน
หลักกาลามสูตร หลักความเชื่อ 10 ประการ
กาลามสูตร คือ พระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ชาวกาลามะ หมู่บ้านเกสปุตตนิคม แคว้นโกศล (เรียกอีกอย่างว่า เกสปุตตสูตร ก็มีกาลามสูตรเป็นหลักแห่งความเชื่อที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ให้แก่พุทธศาสนิกชน ไม่ให้เชื่อสิ่งใด ๆ อย่างงมงายโดยไม่ใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นจริงถึงคุณโทษหรือดีไม่ดีก่อนเชื่อ มีอยู่ 10 ประการ ได้แก่
1.       มา อนุสฺสวเนน - อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามๆ กันมา
2.      มา ปรมฺปราย - อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสืบๆ กันมา
3.      มา อิติกิราย - อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ
4.      มา ปิฏกสมฺปทาเนน - อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์
5.      มา ตกฺกเหตุ - อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเดาว่าเป็นเหตุผลกัน
6.      มา นยเหตุ - อย่าปลงใจเชื่อ เพราะการอนุมานคาดคะเน
7.      มา อาการปริวิตกฺเกน - อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเดาจากอาการที่เห็น
8.      มา ทิฎฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา - อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว
9.      มา ภพฺพรูปตา - อย่าปลงใจเชื่อ เพราะผู้พูดมีลักษณะน่าเชื่อถือ
10.   มา สมโณ โน ครูติ - อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้ เป็นครูของเรา

สรุปบทเรียน รายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ  วันเสาร์ ที่ 29 สิงหาคม 2558


ในการเรียนวันนี้ แต่ละกลุ่มได้นำเสนอระบบการสอนดังนี้

รูปแบบการสอน


  1. ASSURE Model
  2. Dick & Carey Model
  3. Gerlach & Ely Model
  4. KEMP Model
  5.    1.  การใช้สื่อการสอนอย่างเป็นระบบ โดยใช้แบบจำลองThe ASSURE Model 
                 ในการวางแผนการใช้สื่อการสอน ผู้สอนควรจะมีการวางแผนอย่างเป็นระบบ เพื่อให้การใช้สื่อบรรลุถึงวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่วางไว้ การวางแผนอย่างเป็นระบบนี้ เราสามารถใช้รูปแบบจำลองที่เรียกว่า  " The ASSURE Model " ของไฮนิคและคณะ (Heinich and others 1999) ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
    A nalyze Leaner Characteristics
    การวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียน
    S tate Objectives
    การกำหนดวัตถุประสงค์
    S elect, Modify, of Design Materials
    การเลือก ดัดแปลง หรือออกแบบสื่อใหม่
    U tilize Materials
    การใช้สื่อ
    R equire Learner Response
    การกำหนดการตอบสนองของผู้เรียน
    E valuation
    การประเมิน

    การวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียน ( Analyze Leaner Characteristics )

           การวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียน ทำให้ผู้สอนได้ทราบลักษณะทั่วไปและลักษณะเฉพาะของผู้เรียนเพื่อที่ผู้สอนจะ ได้เลือกใช้สื่อการเรียนการสอนได้เหมาะสมกับผู้เรียนและบรรลุวัตถุประสงค์ ของการเรียนการสอน
    ·                 ลักษณะทั่วไป ได้แก่ อายุ ระดับความรู้ เศรษฐกิจและวัฒนธรรม ของผู้เรียนแต่ละคน ซึ่งลักษณะทั่วไปจะช่วยให้ผู้สอนสามารถเลือกระดับของบทเรียนและตัวอย่างของเนื้อหาให้เหมาะสมกับผู้เรียนได้
    ·                 ลักษณะเฉพา ของผู้เรียนแต่ละคน มีส่วนสำคัญโดยตรงกับเนื้อหาบทเรียนตลอดจนสื่อการสอนและวิธีการที่จะนำมาใช้ในการสอน โดยสิ่งที่ต้องนำมาวิเคราะห์ได้แก่ พื้นฐาน ความรู้ของผู้เรียน,  ดูว่าผู้เรียนมีความชำนาญในทักษะที่สอนนั้นมาก่อนหรือไม่  เพื่อจะได้สอนให้ตรงกับจุดมุ่งหมายที่วางไว้ ทักษะทางด้านภาษา การอ่านเขียน การคำนวณ เป็นต้น และทัศนคติต่อวิชาที่จะเรียน   
                             การวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียนสามารถนำไปใช้ในการเลือกสื่อที่เหมาะสมได้ เช่น ผู้เรียนมีทักษะในการอ่านต่ำกว่าเกณฑ์ก็สามารถช่วยได้ด้วยการใช้สื่อประเภทที่ไม่ใช่สื่อสิ่งพิมพ์  การวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียนอาจทำได้ด้วยการสนทนากับผู้เรียนหรือผู้ร่วมชั้นอื่น ๆ หรืออาจมีการทดสอบก่อนเรียนเพื่อดูพื้นฐานของผู้เรียนก็ได้
    การกำหนดวัตถุประสงค์ ( State Objectives ) 
       
                          ในการกำหนดวัตถุประสงค์ควรเป็นวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม เพื่อให้สามารถเลือกใช้วิธีการสอนและสื่อการเรียนการสอนได้เหมาะสม การกำหนดวัตถุประสงค์เป็น "วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม" แบ่งออกเป็น   
                 1. พุทธิพิสัย เป็นวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เพื่อวัดการเรียนรู้ของผู้เรียนเกี่ยวกับความรู้ ความเข้าใจ สติปัญญา และการพัฒนา
                 2. จิตพิสัย เป็นวัตถุประสงค์ทางด้านความคิด ทัศนคติ ความรู้สึก ค่านิยมและการเสริมสร้างทางปัญญา
                 3. ทักษะพิสัย เป็นวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวกับการกระทำ การแสดงออกหรือการปฏิบัติ
                           การกำหนดวัตถุประสงค์ในการเรียนการสอนนั้นเพื่อผู้เรียนจะได้ทราบว่าจะสามารถเรียนรู้หรือกระทำใดได้บ้าง เลือกสื่อและวิธีการได้ถูกต้อง , ช่วยในการประเมินผู้เรียนได้ว่าผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่
              การเลือก ดัดแปลง หรือออกแบบสื่อ ( Select, Modify, of Design Materials )
                             การที่จะมีสื่อที่เหมาะสมในการเรียนการสอน สามารถทำได้ วิธี คือ
                 1. เลือกจากสื่อที่มีอยู่แล้ว มีเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้
                       1) ลักษณะผู้เรียน                                                 2) วัตถุประสงค์การเรียนการสอน
                       3) เทคนิคหรือวิธีการเรียนการสอน                 4) สภาพการณ์และข้อจำกัดในการใช้สื่อแต่ละชนิด
                 2. ดัดแปลงสื่อที่มีอยู่แล้วให้ใช้ได้ดีและเหมาะสมมากยิ่งขึ้น
                 3. การออกแบบสื่อใหม่ 
          หลัง จากที่เราออกแบบสื่อแล้วแล้วนำมาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน ก็ควรมีการวัดผลของสื่อ เป็นการวัดประสิทธิภาพของสื่อ ความคุ้มค่าของสื่อต่อผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ วัดเพื่อปรับปรุงสื่อ วัดผลถึงระยะเวลาที่ในการนำเสนอสื่อว่าพอเหมาะหรือมากเกินความจำเป็น การวัดผลสื่อนี้เพื่อผลในการใช้ดัดแปลงปรับปรุงให้ดีขึ้นสำหรับการนำไปใช้ใน อนาคต เราสามารถที่จะนำเอาผลการอภิปรายในชั้นเรียน การสัมภาษณ์ และการสังเกตผู้เรียนมาใช้เป็นแนวทางในการวัดผลสื่อได้
    2.รูปแบบการสอนดิคและคาเรย์ (Dick and Carey)
    ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การสอนDick & Carey Model

    ดิคและคาเรย์ (Dick and Carey) ได้เสนอรูปแบบระบบการสอน สรุปรวมได้ องค์ประกอบคือ

    1. กำหนดผล (จุดมุ่งหมาย) ของการสอน
    2. การพัฒนาการสอน
    3. การประเมินการเรียนการสอน 
    จากองค์ประกอบหลักทั้ง 
    ประการนี้ ดิคและคาเรย์ ได้แบ่งกิจกรรมการจัดระบบการสอนออกเป็น 10 ขั้นดังนี้
    1. การกำหนดความมุ่งหมายการสอน (identify instructional goals) เป็นการกำหนดความมุ่งหมายการสอนซึ่งต้องพัฒนาให้สอดคล้องกับความมุ่งหมายทางการศึกษา จากนั้นก็ทำการวิเคราะห์ความจำเป็น (need analysis) และวิเคราะห์ผู้เรียน 
    2. การวิเคราะห์การสอน (conduct instructional analysis) ขั้นตอนนี้อาจทำก่อนหรือหลังขั้นที่ หรืออาจจะทำไปพร้อม ๆ กันก็ได้ การวิเคราะห์การสอนเป็นการวิเคราะห์ภารกิจ หรือวิเคราะห์ขั้นตอนการดำเนินการสอน ในเรื่องนี้ กาเย่ (Gagne. 1985) ได้เสนอแนะว่าการวิเคราะห์การสอนอีกลักษณะหนึ่งก็คือ information-processing analysis ตามแนวคิดของกาเย่นั้นเอง ผลการวิเคราะห์การสอนที่ได้ จะเป็นการจัดหมวดหมู่ของภารกิจ (task classification) ตามลักษณะของจุดมุ่งหมายการสอน 
    3. ศึกษาพฤติกรรมเบื้องต้นและคุณลักษณะของผู้เรียน (identify entry behaviors and characteristics)
    4. เขียนจุดมุ่งหมายการเรียน (write performance objectives) ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายเฉพาะ หรือจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรมและสอดคล้องกับความมุ่งหมายการสอน จุดมุ่งหมายการเรียน 
    5. สร้างแบบทดสอบอิงเกณฑ์ (develop criterion referenced test) เพื่อประเมินการเรียนการสอน 
    6. พัฒนายุทธศาสตร์การสอน (develop instructional strategy) เป็นแผนการสอน หรือเหตุการณ์การสอนที่จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามจุดมุ่งหมายของการสอน 
    7. เลือกและพัฒนาวัสดุการเรียนการสอน (develop and select instructional materials) เป็นการเลือกและพัฒนาสื่อการสอนทั้งสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อโสตทัศน์ 
    8. ออกแบบและจัดการประเมินระหว่างเรียน (design and conduct summative evaluation)
    9. ออกแบบและจัดการประเมินหลังเรียน (design and conduct summative evaluation)
    10.แก้ไขปรับปรุงการสอน (revise instruction) 
    เป็นขั้นการแก้ไขและปรับปรุงการสอน นับตั้งแต่ขั้นที่ จนถึงขั้นที่ 8

    3.ระบบการสอนของเกอร์ลาซและอีลี (Gerlach and Ely)
       ระบบการสอนของเกอร์ลาซและอีลี นับเป็นระบบการสอนที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย 
    มีการแบ่งขั้นตอนออกได้เป็น 10 ขั้นตอน คือ
                 1. การกำหนดวัตถุประสงค์ (Specification of Objectives) คือการกำหนดวัตถุประสงค์ของการเรียน
    ขึ้นมาก่อนว่าควรเป็น วัตถุประสงค์เฉพาะ หรือ วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม ที่ผู้เรียนสามารถปฏิบัติและผู้สอนวัดหรือสังเกตได้
                  2. การกำหนดเนื้อหา (Specification of Content) เป็นการเลือกเนื้อหาที่เหมาะสมเพื่อกำหนดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และบรรลุถึงวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ตั้งไว้
                 3. การประเมินพฤติกรรมเบื้องต้น (Assessment of Entry Behaviors) เป็น การประเมินก่อนเรียน เพื่อให้ทราบถึงพฤติกรรมและภูมิหลังของผู้เรียนก่อนที่จะเรียนเนื้อหานั้น ๆว่าผู้เรียนมีความรู้ความสามารถในเรื่องที่จะสอนนั้นมากน้อยเพียงใด เพื่อเป็นแนวทางในการที่จัดการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม
                 4. การกำหนดกลยุทธวิธีของการสอน (Determination of Strategy) เป็น วิธีการของผู้สอนในการใช้ความรู้ เลือกทรัพยากรและกำหนดบทบาทของผู้เรียนในการเรียน ซึ่งเป็นแนวทางเฉพาะเพื่อช่วยให้สามารถบรรลุถึงวัตถุประสงค์ของการเรียน
    การสอนนั้น กล่าวคือ
                  4.1 การสอนแบบเตรียมเนื้อหาความรู้ให้แก่ผู้เรียนโดยสมบูรณ์ทั้งหมด (expository approach)   เป็น การสอนที่ผู้สอนป้อนความรู้ให้ผู้เรียนโดยการใช้สื่อต่าง ๆ และจากประสบการณ์ของผู้สอนโดยที่ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องค้นคว้าหาความรู้ใหม่ ด้วยตนเองแต่อย่างใด เช่น การสอนแบบบรรยาย การสอนแบบอภิปราย
                 4.2 การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้หรือแบบไต่สวน (discovery or inquiry approach) ผู้ สอนมีบทบาทเพียงเป็นผู้เตรียมสื่อและจัดสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในการเรียนเป็นการจัดสภาพการณ์ให้การเรียนรู้บรรลุตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ โดยผู้เรียนต้องค้นคว้าหาความรู้เอาเอง
                  5. การจัดแบ่งกลุ่มผู้เรียน (Organization of Groups)เป็นการจัดกลุ่มผู้เรียนให้เหมาะสมกับวิธีสอนและ
    เพื่อให้ได้เรียนรู้ร่วมกันอย่างเหมาะสมโดยพิจารณาจากวัตถุประสงค์ เนื้อหาและวิธีการสอนด้วย
                  6. การกำหนดเวลาเรียน (Allocation of Time) โดยขึ้นอยู่กับเนื้อหาที่จะเรียน วัตถุประสงค์ สถานที่
    แ ละความสนใจของผู้เรียน
                  7. การจัดสถานที่เรียน (Allocation of Space) ซึ่งจะขึ้นอยู่กับขนาดของกลุ่มผู้เรียน เช่น
                  7.1 ห้องเรียนขนาดใหญ่ สามารถสอนได้ครั้งละ 50 - 300 คน
                  7.2 ห้องเรียนขนาดเล็ก เพื่อใช้ในการเรียนการสอนแบบกลุ่มย่อยหรือการจัดกลุ่มสัมมนาหรืออภิปราย
                  7.3 ห้องเรียนแบบเสรีหรืออิสระ เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนตามลำพังหรืออาจเป็นห้องศูนย์สื่อการสอน
                        ที่มีคูหาเรียนเป็นรายบุคคล
                   8. การเลือกสรรทรัพยากร (Allocation of Resource) เป็นการที่ผู้สอนเลือกสื่อการสอนที่เหมาะสม
    กับวัตถุประสงค์ เนื้อหา วิธีการสอน และขนาดของกลุ่มผู้เรียน เพื่อให้การสอนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
                                8.1 สื่อบุคคลหรือของจริง
                                8.2 วัสดุและอุปกรณ์เครื่องฉาย
                                8.3 วัสดุและอุปกรณ์เครื่องเสียง
                                8.4 สื่อสิ่งพิมพ์
                                8.5 วัสดุที่ใช้แสดง
                   9. การประเมินสรรถนะ (Evaluation of Preformance) เป็น การประเมินความสามารถและพฤติกรรมของผู้เรียนอันเกิดจากกระบวนการปฏิสัมพันธ์ ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน หรือระหว่างผู้เรียนกับสื่อการสอน การประเมินเป็นสิ่งสำคัญมากในการเรียนและเป็นกระบวนการสุดท้ายของระบบการสอน ที่ยึดเอาวัตถุประสงค์ที่วางไว้เป็นหลัก
    ในการดำเนินงาน
                  10. การวิเคราะห์ข้อมูลป้อนกลับ (Analysis of Feedback) เพื่อ ทำให้ทราบว่าผลที่เกิดขึ้นนั้นป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้มากน้อยเพียง ใด เพราะเหตุใด อันจะเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขระบบการสอนให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น

    4.ระบบการสอนของ The Kemp Model

    The Kemp Model, Dick and Carey ได้เสนอรูปแบบระบบการสอน สรุปรวมได้ องค์ประกอบ คือ          
    1.  กำหนดผล (จุดมุ่งหมาย) ของการสอน
    2.  การพัฒนาการสอน
    3.  การประเมินการเรียนการสอน    
                                                                                          
                จากองค์ประกอบหลักทั้ง ประการนี้ ดิคและคาเรย์ ได้แบ่งกิจกรรมการจัดระบบการสอนออกเป็น 10 ขั้นดังนี้     
       1.ความต้องการในการเรียน จุดมุ่งหมายในการสอน สิ่งสำคัญ/ข้อจำกัด
       2.หัวข้อเรื่อง ภารกิจ และจุดประสงค์ทั่วไป
       3.ลักษณะของผู้เรียน
       4.เนื้อหาวิชาและการวิเคราะห์ภารกิจ
       5.วัตถุประสงค์ของการเรียน
       6.กิจกรรมการเรียนการสอน
       7.ทรัพยากรในการสอน
       8.บริการสนับสนุน
       9.การประเมินผลการเรียน
      10. การทดสอบก่อนการเรียน

สรุปบทเรียนรายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม 2558
"ครูกับการออกแบบการเรียนสู่

การออกแบบการเรียนรู้
เมื่อครูผู้สอนได้ศึกษาและมีความเข้าใจในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เป็นเบื้องต้นแล้วว่า  เป้าหมายของชาตินั้นต้องการพัฒนาผู้เรียนอย่างไร และท่านเป็นครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้อะไร  ต้องทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในธรรมชาติของวิชานั้นๆ โดยทำการศึกษาลักษณะของมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด แล้วนำมาวิเคราะห์มาตรฐานและตัวชี้วัดของกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ตนเองรับผิดชอบอย่างถูกต้อง  โดยทำความเข้าใจว่า      มาตรฐานและตัวชี้วัดต้องการให้นักเรียนรู้อะไร   ทำอะไรได้ จึงจะทำให้ท่านสามารถจัดการเรียนการสอนเพื่อพานักเรียนให้ไปถึงเป้าหมายได้
ดังนั้น หน่วยการเรียนรู้ จึงเป็นหัวใจของหลักสูตรอิงมาตรฐาน เพราะเป็นขั้นตอนที่ครูนำมาตรฐานสู่การเรียนการสอนในห้องเรียน นักเรียนจะบรรลุ(ไปถึง) มาตรฐานที่กำหนดหรือไม่ก็อยู่ที่ขั้นตอนนี้ ฉะนั้น หน่วยการเรียนรู้ จึงหมายถึง กลุ่มของสาระการเรียนรู้หรือองค์ความรู้ที่มีลักษณะเดียวกันหรือสัมพันธ์กันนำมารวมกันเป็นหมวดหมู่ เพื่อสะดวกต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยครูผู้สอนจะต้องพิจารณาเลือกตัวชี้วัดที่มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันทั้งมาตรฐานและตัวชี้วัด สาระ/เนื้อหา และกระบวนการเรียนการสอน ซึ่งไม่ควรใหญ่หรือเล็กเกินไป เพราะถ้าจัดกลุ่มสาระการเรียนรู้หรือองค์ความรู้จำนวนมากจะเป็นหน่วยที่ใหญ่ซึ่งทำให้ยุ่งยากต่อการจัดกิจกรรมและการประเมินผล  แต่ถ้าเล็กเกินไปก็อาจทำให้นักเรียนไม่สามารถสร้างความคิดรวบยอดในการเรียนได้  และการตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้ควรให้น่าสนใจ  สื่อถึงเนื้อหา/เรื่องราวที่จะเรียนในหน่วยนั้น ๆ
ส่วนสมรรถนะสำคัญทั้ง  ประการ คือ 1) ความสามารถในการสื่อสาร 2) ความสามารถในการคิด 3) ความสามารถในการแก้ปัญหา  4) ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต และ5) ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี และคุณลักษณะอันพึงประสงค์อีก  ประการ คือ 1) รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2) ซื่อสัตย์สุจริต 3) มีวินัย 4) ใฝ่เรียนรู้ 5) อยู่อย่างพอเพียง 6)มุ่งมั่นในการทำงาน 7) รักความเป็นไทย และ 8) มีจิตสาธารณะ   นั้น จะเป็นตะกอนที่เกิดจากการเรียนรู้มาตรฐาน/ตัวชี้วัดทั้ง กลุ่มสาระ ซึ่งทั้งสมรรถนะและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ จึงเป็นส่วนหนึ่งที่ครูจะต้องตระหนักในการพัฒนาผู้เรียนเช่นกัน
สำหรับการออกแบบหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐาน ควรมีสิ่งที่ครูจะต้องคำนึงและถามตัวเองให้ได้ เสมอ คือ
1. ทำการวางเป้าหมาย ในการเรียนรู้ของหน่วยเชื่อมโยงกับมาตรฐาน/ตัวชี้วัดหรือไม่
2. ได้กำหนดชิ้นงาน/ภารงาน รวมทั้ง การประเมินชิ้นงาน/ภารงาน ที่สะท้อนว่านักเรียนบรรลุมาตรฐาน/ตัวชี้วัดหรือไม่
3. ได้จัดกิจกรรมการเรียนการสอน ที่สามารถนำพาให้นักเรียนทุกคนทำชิ้นงาน/ภารงานได้หรือไม่ และนักเรียนจะเกิดคุณภาพได้ตามเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่
ดังนั้นการออกแบบหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐาน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551  จึงได้นำแนวคิด Backward  Design  มาใช้ ซึ่งเป็นการออกแบบการเรียนรู้ที่นำเป้าหมายสุดท้ายของผู้เรียนมาเป็นจุดเริ่มต้นในการออกแบบ นั่นก็คือ มาตรฐานการเรียนรู้หรือตัวชี้วัด แล้วนำมาวางแผนการจัดกิจกรรมเพื่อเป็นเครื่องมือที่นำไปสู่การสร้างผลงานหลักฐาน/ร่องรอยแห่งการเรียนรู้ของผู้เรียนนั่นเอง   จากแนวคิดของ Wiggins  และ McTighe ซึ่งเป็นนักวัดผลที่วงการศึกษาไทยรู้จักกันค่อนข้างมาก ได้แก้ปัญหาความไม่เชื่อมโยงระหว่างหลักสูตรกับการประเมินผลของผู้เรียนว่า  จะวัดและประเมินผลผู้เรียนอย่างไรจึงจะแสดงถึงความเข้าใจที่ลึกซึ้ง(Enduring  Understanding)  ตามที่หลักสูตรกำหนดได้อย่างไร
ความเข้าใจที่ลึกซึ้ง (Enduring  Understanding) ที่ Wiggins  และ McTighe ได้เขียนไว้ว่าเมื่อผู้เรียนเกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งแล้วจะสามารถทำในสิ่งต่อไปนี้ได้  มี  6 ด้าน* คือ
1. สามารถอธิบาย (Can  explain) โดยผู้เรียนสามารถอธิบายเหตุการณ์ หรือปรากฏการณ์โดยใช้ข้อมูล ทฤษฎี และองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง ด้วยวิธีการและด้วยเหตุและผล (Why  and  How) ทั้งยังสามารถแสดงความคิดเห็นที่มากกว่าเพียงคำตอบผิดหรือถูก
2. สามารถแปลความ (Can  interpret) โดยผู้เรียนสามารถแปลความหมายของข้อมูลได้ชัดเจนตรงประเด็น ชี้ให้เห็นคุณค่า แสดงให้เห็นความเชื่อมโยงสู่ชีวิตจริง และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
3. สามารถประยุกต์ใช้ (Can  apply)โดยผู้เรียนสามารถนำความรู้สู่การปฏิบัติในสถานการณ์ใหม่ ๆ ที่ต่างไปจากที่เรียนมาได้อย่างมีทักษะ
4. สามารถมีมุมมองที่หลากหลาย (Can  perspective) โดยผู้เรียนเป็นผู้ที่มีมุมมองที่มีความน่าเชื่อถือ พิจารณาถึงข้อดี ข้อเสีย ความเป็นไปได้ ความแปลกใหม่ รวมถึงความลึกซึ้งแจ่มชัด
5. สามารถเข้าใจผู้อื่น (Can  empathize) โดยผู้เรียนเป็นผู้ที่เข้าใจผู้อื่น สนองตอบและยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น เป็นผู้ที่มีความละเอียดอ่อนรู้สึกถึงความรู้สึกนึกคิดของผู้เกี่ยวข้อง
6. สามารถรู้จักตนเอง (Can  self-knowledge) โดยผู้เรียนเป็นผู้เข้าใจแนวคิด ค่านิยม อคติ และจุดอ่อนของตนเอง สามารถปรับตัวและแก้ไขสถานการณ์ได้อย่างชาญฉลาด
ฉะนั้นการจัดทำหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐาน โดยใช้การออกแบบย้อนกลับ (Backward  Design) จึงเป็นวิธีหนึ่งที่ได้รับการยอมรับว่าสามารถช่วยให้การจัดการเรียนการสอนของครูมีประสิทธิภาพ สามารถนำพานักเรียนให้บรรลุมาตรฐาน/ตัวชี้วัดได้  การออกแบบหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐานตามแนว Backward  Design ของ Wiggins  และ McTighe  ที่เชื่อว่าจะทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งได้ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น